มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการโดยชุมชน (จ.นครศรีธรรมราช)

โครงการ CBR นครศรีธรรมราชจากการทำงานหนักและพัฒนางานอย่างไม่หยุดนิ่ง ได้ผลสรุปว่า การฟื้นฟูพัฒนาเด็กพิการโดยการนำเด็กพิการออกจากชุมชน เพื่อเข้ารับบริการในกรุงเทพฯ หรือ สถานสงเคราะห์นั้นเป็นแนวทางที่ไม่สามารถให้บริการแก่เด็กพิการได้อย่างทั่วถึง ยั่งยืน และต่อเนื่อง ในปี พ.ศ.2528 มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จึงจัดโครงการนำร่องการฟื้นฟูเด็กพิการโดยชุมชน ด้วยการประสานความร่วมมือกับพยาบาลชุมชน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ชื่อ “โครงการฟื้นฟูเด็กพิการโดยชุมชน” โดยใช้โครงสร้างสาธารณชุมชนมูลฐาน โครงการฟื้นฟูเด็กพิการโดยชุมชน ที่อำเภอบัวใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิการในชุมชนโดยเน้นการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จากการดำเนินงานพบว่าสามารถขยายการให้บริการสู่เด็กพิการ ในชุมชนได้ครอบคลุมทั้งอำเภอ เป็นบทเรียนที่ภาคภูมิใจ จากนั้นมูลนิธิเพื่อเด็กพิการจึงขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น พร้อมมุ่งเน้นในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ของคนในชุมชนที่มีต่อเด็กพิการรวมทั้งหาแนวทาง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความพิการ ในระดับชุมชนพร้อมทั้งได้สำรวจพื้นที่ใหม่ในภาคอีสาน เพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่มีคนพิการจำนวนมาก ในถิ่นทุรกันดารยากจน และที่สำคัญคือเจ้าหน้าที่ในชุมชนตระหนักถึงปัญหาและพร้อมที่จะช่วยเหลือ

ปี พ.ศ.2531 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี (ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) ก็ได้รับ คัดเลือกให้เป็นพื้นที่ลำดับต่อไปในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มของตำนานความรักระหว่างปู่สู่หลาน สร้างเป็นประวัติศาสตร์ของเล่นปู่ไพ ของเล่นเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการจุดประกายพลังชุมชนเข้มแข็ง เป็น “มูลนิธิศรีบุญเรืองเพื่อคนพิการ”ในปัจจุบัน

โครงการ CBR นครศรีธรรมราชช่วง 4 ปี แรกมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จัดให้มีการประชุมส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการ อำนวยการ การฟื้นฟูและการป้องกันความพิการระดับอำเภอ โดยมีส่วนราชการต่างๆเป็นกรรมการและมีการประชุมกันทุก 3 เดือน โดยมีการดำเนินการดังนี้

  1. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและระดับจังหวัด โดยให้ความรู้และแนวทางการฟื้นฟูผู้พิการ
  2. ดำเนินการสำรวจ
  3. การฟื้นฟูมีการคัดแยกผู้พิการเพื่อวางแผนการช่วยเหลือ
  4. การฟื้นฟูทางการแพทย์
  5. การกระตุ้นพัฒนาการในเด็กเล็กที่พิการ
  6. การส่งเสริมทางการศึกษา
  7. การส่งเสริมด้านอาชีพ
  8. การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีและมีการรณรงค์ป้องกันความพิการพร้อมกับเผยแพร่สู่สังคม

ในรูปแบบสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ บทความ ผลงานใน 4 ปี เป็นตัวอย่างที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า “ความพิการฟื้นฟูได้” ผู้พิการได้รับบริการที่เหมาะสม ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อคนพิการมากขึ้น โรงพยาบาลชุมชน สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้ โดยมีระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถกำหนดรูปแบบที่เหมาะสม มีการฟื้นฟูโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการผลิตของเล่นเพื่อการฟื้นฟู รูปแบบของการเรียนร่วม

ภายหลังมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ได้เปลี่ยนบทบาทเป็นที่ปรึกษาในพื้นที่ต่างๆ เช่น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี , อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร , อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ โดยทำหน้าที่ประสานงาน ผลักดันให้เกิดความตระหนัก ร่วมมือกันดำเนินงานฟื้นฟูผู้พิการโดยชุมชน

นอกจากนี้ได้มีการขยายผลโดยการถ่ายทอดความรู้ทางเอกสาร วิดีทัศน์ เพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูผู้พิการโดยชุมชน เช่น

  • หนังสือสายใยรักจากปู่สู่หลานพิการ
  • ของเล่นจากปู่ไพ
  • คู่มือป้องกันความพิการ
  • ความพิการป้องกันได้
  • หนังสือศรีบุญเรืองเมืองตัวอย่าง
  • วิดีทัศน์ ศรีบุญเรืองเมืองตัวอย่าง
  • วิดีทัศน์ความพิการป้องกันได้โดยใช้หนังตะลุงเป็นสื่อ

ปี 2540 ขยายโครงการไปในพื้นที่ภาคใต้ ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการนำรูปแบบ และบทเรียนที่ผ่านมา มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามศักยภาพของพื้นที่ตามวัฒนธรรมของชุมชน โดยเน้นองค์กรชุมชนของรัฐที่มีอยู่ เป็นกลไกในการทำงานและมีสิ่งที่เกิดขึ้นคือ

  • การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการพัฒนาผู้พิการ
  • การมีส่วนของผู้พิการการแสดงความคิดเป็นแบบพหุภาคี
  • การรณรงค์การป้องกันความพิการโดยใช้สื่อพื้นบ้าน
  • ตัวอย่างการฟื้นฟูเด็กพิการโดยใช้วัสดุพื้นบ้าน
  • มีเครือข่ายครอบครัวผู้พิการ กลุ่มผู้พิการ
  • องค์การท้องถิ่นให้การสนับสนุน การฟื้นฟูผู้พิการในชุมชน

จากการทุ่มเท สร้างสรรค์งานอย่างต่อเนื่อง และสั่งสมประสบการณ์ จนเป็นองค์ความรู้สู่สังคม มากว่า 20 ปี วันนี้ประสบการณ์ด้านงานฟื้นฟูเด็กพิการโดยชุมชน มีการเรียนรู้ คิดค้น ค้นหารากหญ้าของปัญหา มีการปรับขยาย ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อที่ว่าชุมชนเข้มแข็งมั่นคงสู่การพัฒนาฟื้นฟูผู้พิการอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

ท่านใดสนใจสามารถร่วมสนับสนุนโครงการ CBR ได้ที่

ชื่อบัญชีมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ สยามสแควร์สาขา ประเภทบัญชี เลขที่บัญชี
ธนาคารกรุงเทพ ลาดพร้าว 44 ออมทรัพย์ 203-0-18163-6
ธนาคารกรุงไทย สยามสแควร์ ออมทรัพย์ 052-1-16511 -3
ธนาคารกสิกรไทย สยามสแควร์ ออมทรัพย์ 026-2-49994-4
ธนาคารไทยพาณิชย์ ลาดพร้าว 59 ออมทรัพย์ 038-2-61551-3
ธนาคารไทยพาณิชย์ (โครงการอาคารเพื่อเด็กพิการ) ลาดพร้าว 59 ออมทรัพย์ 038-4-43150-9
ธนาคารไทยพาณิชย์ (กองทุนเพื่อเด็กพิการใน
อุปถัมภ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
ลาดพร้าว 59 ออมทรัพย์ 010-4-33969-4
ธนาคารยูโอบี  สยามสแควร์ ออมทรัพย์ 772-160-008-8
 ธนาคารทหารไทยธนชาต  โชคชัย 4 ออมทรัพย์ 036-2-789-471
ธนาคารออมสิน ยุติธรรม เผื่อเรียก 051-0901-7295-1
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  จตุจักร  ออมทรัพย์  058-2-29583-0
บริจาคเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา
 บริจาคเงินผ่านแอปพลิเคชัน shopeepay
บริจาคเงินผ่านเคาน์เตอร์บิ๊กซี, บิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า, และมินิบิ๊กซี
 บริจาคผ่าน QR code E-donation

ย้อนกลับ