เกี่ยวกับเรา
20 ปี จากเลิดสิน… สู่ลาดพร้าว 47
โรงพยาบาลเลิดสิน ที่พักพิงแห่งแรก เด็กสมองพิการจำนวนมากที่ต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูบำบัดหลังจากการผ่าตัด ซึ่งเด็กเหล่านี้ต้องอยู่โรงพยาบาลตามลำพัง บ้างก็ขาดเรียน ขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก ต่างเป็นผลให้เด็กๆ ขาดการพัฒนาการทางด้านจิตใจ และร่างกาย เด็กบางคนเกิดการซึมเศร้า ท้อแท้ บ้างก็คอยผู้ปกครองด้วยความหวัง แต่ผู้ปกครองก็ไม่สามารถมาดูแลที่โรงพยาบาลได้ จากสภาพปัญหาต่างๆ ยิ่งเป็นผลให้เด็กสมองพิการเหล่านั้นยิ่งด้อยโอกาสในการพัฒนาทั้งด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับการฟื้นฟูทางร่างกายแล้วก็ตาม
คุณหมอประพจน์ เภตรากาศ และคณะเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลเลิดสิน จึงได้ริเริ่ม “โครงการฟื้นฟูเด็กสมองพิการ” ในปี 2525 ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกของการทำงานพัฒนาเด็กสมองพิการสังคมไทย โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาฟื้นฟูที่ตัวเด็กพิการทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ควบคู่กันไป
ถึงแม้ว่าโครงการฟื้นฟูเด็กสมองพิการได้อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลเลิดสิน นับตั้งแต่ปี 2525 ถึง ปี 2529 แต่ในการจัดการและการดำเนินงาน เป็นไปในรูปแบบกึ่งอาสาสมัคร ทั้งนี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฟื้นฟูฯ ไม่ได้อยู่ในระบบการทำงานของโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ศูนย์ฟื้นฟูฯ ส่วนมากเป็นผู้ที่สนใจ และศรัทธาต่อแนวคิดในการช่วยเหลือสังคมและการฟื้นฟูพัฒนาเด็กพิการทั้งร่างกาย และจิตใจไปพร้อมๆ กัน
ด้วยพลังศรัทธาของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการของศูนย์ฯ ทำให้การฟื้นฟูของศูนย์ฯ ดำเนินไปด้วยดีและด้วยการทำงานที่ขยันขันแข็งของเจ้าหน้าที่ ทำให้เด็กที่อยู่ในศูนย์ฯ มีการพัฒนาอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ปกครองมีความพึงพอใจขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็โยนภาระให้กับเจ้าหน้าที่มากขึ้น เจ้าหน้าที่ทำงานหนักมากเพราะจำนวนเด็กมีมาก แต่ข้อจำกัดด้านงบประมาณและสถานที่ จึงไม่สามารถขยับขยายหรือเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอกับปริมาณเด็กที่มีอยู่ในศูนย์ฯ และเป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ต่อมาเมื่อมีการดำเนินงานอย่างจริงจัง และมีระบบการทำงานที่ดีขึ้น เพื่อความยั่งยืนในการช่วยเหลือเด็กสมองพิการ ดังนั้นศูนย์ฟื้นฟูเด็กพิการ จึงได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อเด็กพิการที่ถูกต้อง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529
ศูนย์การฟื้นฟูเด็กสมองพิการจึงนับว่าเป็นจุดก่อเกิดของมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ โดยมีโรงพยาบาลเลิดสินเป็นผู้ที่ให้ที่พักพิงแก่พวกเรา เปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังแรกของเรา และหากไม่มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ งานด้านฟื้นฟูและพัฒนางานเด็กสมองพิการก็คงไม่พัฒนามาถึงวันนี้ได้
บ้านซอยน้อมจิต
บ้านซอยน้อมจิต เป็นบ้านหลังที่สองของเรา หลังจากที่ได้ย้ายมาจากโรงพยาบาลเลิดสิน ในปี 2529 และมีการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิฯ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นั่นย่อมหมายถึงเราได้มีสถานภาพทางสังคมอย่างถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนก็สามารถตรวจสอบเราได้เช่น จากโครงการเล็กๆ ได้พัฒนามาเป็นมูลนิธิฯ โดยมีโครงสร้างองค์กรที่ประกอบด้วยคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่มีการกำหนดทิศทางการทำงาน มีนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องมีการทบทวนการทำงานที่ผ่านมา เพื่อที่มูลนิธิฯ จะได้ทำโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ของเด็กพิการในสังคมไทย ดังนั้นในช่วงการดำเนินงานของบานซอยน้อมจิตจึงเป็นก้าวที่สองของมูลนิธิฯ ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน รวมถึงทิศทางการทำงาน ยุทธศาสตร์ วิธีการทำงานและกิจกรรมต่างๆ และในขณะเดียวกันได้มีการพัฒนาการจัดการองค์กร เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิฯ อย่างแท้จริง
จากก้าวแรกของมูลนิธิฯ ที่มีศูนย์ฟื้นฟูเด็กสมองพิการโดยเน้นที่การฟื้นฟูพัฒนาการเรียนรู้และการให้บริการกายภาพบำบัดแก่เด็กเป็นรายกรณีตามลักษณะ และปัญหาของเด็กโดยตรง ซึ้งการให้บริการต่างๆเหล่านี้เป็นผลดีต่อเด็กโดยตรง ทำให้ผู้ปกครองจำนวนมากต้องการส่งเด็กมาที่ศูนย์ฯ ซึ่งเป็นผลให้มูลนิธิฯต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น และรับผิดชอบต่อเด็กมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้ปกครองหลายเท่าก็ผลักภาระมาให้มูลนิธิฯโดยการส่งเด็กมาที่ศูนย์ฯและละทิ้งเด็กให้อยู่กับมูลนิธิฯซึ่งเป็นผลร้ายต่อจิตใจของเด็กเป็นอย่างยิ่ง และในขณะที่ทางมูลนิธิฯเองก็ไม่สามารถรับเด็กเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ด้วยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณและจำนวนเจ้าหน้าที่ เมื่อมูลนิธิฯต้องมีงานมากขึ้น ทั้งมูลนิธิฯ และเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นฝ่ายตั้งรับต่อปัญหาเด็กพิการ ซึ่งเป็นผลให้การทำงานในการสร้างสำนึกและทัศนคติที่ดีต่อเด็กพิการ ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายประสงค์เท่าที่ควร ดังนั้นมูลนิธิฯจึงได้มีการปรับทิศทางการทำงาน เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการสร้างสำนึกและทัศนคติของสังคมที่ถูกต้องต่อเด็กพิการ โดยได้หันมาให้ความสำคัญต่อครอบครัวและชุมชนในการฟื้นฟูเด็กพิการ และในขณะเดียวกันได้มีการทำงานรณรงค์เผยแพร่มากขึ้น นอกจากนั้นได้มีการพัฒนาโครงการฟื้นฟูเด็กพิการโดยชุมชน ที่อำเภอบัวใหญ่จังหวัดนครราชสี่มา โดยได้มีการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนและหน่วยงานของรัฐอย่างจริงจัง จากรูปธรรมและบทเรียนจากโครงการที่บัวใหญ่ ได้ส่งผลต่อการรณรงค์เผยแพร่ต่อสังคมในการสร้างความเข้าใจต่อปัญหาเด็กพิการในระดับกว้างได้เป็นอย่างดีขณะเดียวกันก็ได้มีการขยายโครงการไปในพื้นที่อื่น โดยได้นำบทเรียนจากโครงการบัวใหญ่ไปปรับใช้ในโครงการอื่น นอกจากนั้นได้มีการจัดปรับการทำงานของศูนย์ฯเพื่อให้สอดคล้องต่อสถานการณ์มากขึ้น โดยได้มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อการส่งต่อเด็กพิการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบโดยตรง เป็นผลให้มูลนิธิฯได้ทำงานเชิงรุกมากขึ้น เช่น การฝึกอบรมให้ผู้ปกครองได้ทำกายภาพบำบัดให้แก่เด็กของตนเอง และมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบของครอบครัวมากขึ้น นอกจากนั้นผลจากการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกับองค์กรด้านเด็กพิการอื่นๆ ได้แก่การจัดแสดง “ศิลปะเพื่อเด็กพิการ”ปี พ.ศ. 2531 เป็นครั้งแรก ซึ้งได้รับความสนใจจากภาครัฐและสาธารณชนเป็นอย่างมาก และได้มีการดำเนินงานกันต่อมากอีกหลายครั้ง นอกจากนั้นก็ได้มีการจัด “ค่ายเยาวชนคนพิการ”ร่วมกับองค์กรด้านความพิการต่างๆซึ่งได้รับความสนใจจากเด็กพิการเอง และได้เปิดช่องทางใหม่ให้สังคมได้รับรู้ถึงศักยภาพของเด็กพิการอีกด้วย
จากการทำงานด้านเผยแพร่และรณรงค์มากขึ้น มูลนิธิฯพบว่า เมื่อสังคมเข้าใจปัญหาด้านเด็กพิการมากขึ้น การสนับสนุนการทำงานด้านพัฒนาฟื้นฟูเด็กพิการก็มีมากขึ้น ดัง นั้นจึงมีการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและสิ่งของจากสังคมมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาการระดมทุนภายในสังคมไทยในระดับที่กว้างขึ้น
ในขณะที่มีการจัดปรับทิศทางและการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ภายในองค์กรเองก็ได้มีการปรับโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องกับงาน และเป็นการให้การสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ นอกจากนั้นได้มีการพัฒนาระบบการทำงานภายในของเจ้าหน้าที่ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมศักยภาพและสวัสดิการของเจ้าหน้าที่
เมื่อการทำงานของมูลนิธิฯได้ขยายมากขึ้น ความสนใจและการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และจากสาธารณะก็มีมากขึ้น ยิ่งเป็นผลทำให้มูลนิธิฯ ต้องคิดค้นและแสวงหาแนวทางใหม่ เพื่อทำงานด้านเด็กพิการได้รอบด้านมากขึ้น อย่างน้อยก็เพื่อให้เกิดประโยชน์ และองค์ความรู้ใหม่ในการแก้ไขปัญหาด้านเด็กพิการให้มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นเมื่องานขยาย คนทำงานมีมากขึ้น เด็กที่มารับบริการก็มีเพิ่มขึ้นสถานที่ที่เคยใหญ่โตและสามารถรองรับงานต่างๆได้ก็กลับเล็กลง จึงถึงเวลาที่จะขยับขยายกันอีกครั้ง
ในปี 2531 เราได้ย้ายมาสู่บ้านหลังที่ 3 ที่ซอยลาดพร้าว 87 ที่ใหญ่ขึ้นและมีบริเวณให้เด็กและผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ในขณะเดียวกันโครงการต่างๆ ก็ถูกพัฒนาขึ้นอีกหลายโครงการ เพื่อรองรับแนวคิดและทิศทางใหม่ๆ พัฒนาพื้นฟูเด็กสมองพิการ

งานฟื้นฟูเด็กพิการโดยชุมชน (CBR) ของมูลนิธิฯได้รับการยกย่องว่าเป็นโครงการที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลมากจากประสบการณ์งาน CBR ในพื้นที่ จึงได้นำมารณรงค์เผยแพร่ต่อสังคมวงกว้างและในเชิงนะโยบาย นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังได้เอาประสบการณ์ CBR ในชนบทมาริเริ่มโครงการ CBR ในชุมชนเมือง โดยปรับรูปแบบใหม่ให้เข้ากับงานในชุมชนเมืองในขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาหารูปแบบที่เหมาะสมต่อการส่งเด็กคือสู่ครอบครัวเมื่อมูลนิธิฯ ไม่สามารถรับเด็กประจำพักค้างที่มูลนิธิฯได้ การคิดค้นงานด้านส่งเสริมศักยภาพครอบครัวเพื่อรองรับเด็กพิการ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นมูลนิธิฯจึงได้มีการจัดอบรมผู้ปกครองเด็กพิการ อย่างสม่ำเสมอทั้งทางด้านฟื้นฟูกายภาพบำบัด การฟื้นฟูด้านอารมณ์ จิตใจของเด็กโดยทำความเข้าใจต่อผู้ปกครองในเรื่องสภาพความเป็นจริงของเด็กพิการ ในขณะเดี่ยวกันก็มีการสนับสนุนกิจกรรมโครงการดนตรีเพื่อคนพิการ (Asia Wataboshi Music Festival) ซึ่งเป็นการประสานงานกับต่างประเทศในระดับสากลมากขึ้น โดยมีการคัดเลือกคนพิการที่มีความสามารถด้านดนตรีไปร่วมในงาน Wataboshi ซึ่งในปี 2540 มูลนิธิฯ ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดโดยมีผู้เข้าร่วมจาก 15 ประเทศ ได้รับความสนใจทั้งสื่อมวลชนในและต่างประเทศอย่างมาก โครงการนี้ก็ทำกันอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้
นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากโครงการทอผ้า Saori ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองของเด็กพิการได้ร่วมโครงการทอผ้า เพื่อเป็นกิจกรรมร่วมกันและเป็นการคลายความเครียดของร่างกายและจิตใจ โดยผู้ปกครองเด็กพิการได้เข้าร่วม และมีการดำเนินงานกันอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
จากงานค่ายเยาวชนคนพิการ ได้มีการพัฒนามาสู่การจัดค่ายเด็กพิการ โดยมูลนิธิฯ ได้ซื้อที่ดิน จ.ฉะเชิงเทราเพื่อทำเป็นค่ายเอนกประสงค์ ที่สามารถให้บริการทั้งคนพิการและบุคคลทั่วไป ซึ่งการดำเนินงานของ ค่ายห้วยน้ำใสนี้ เป็นอิสระจากมูลนิธิฯ และเป็นโครงการร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กค่ายห้วยน้ำใส ได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และให้บริการแก่หน่วยงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

เมื่อมูลนิธิฯ ได้ทำงานและมีผลงานออกสู่สาธารณชนมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่ทำงานด้านเด็กพิการรวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ และองค์กรสนับสนุนและในขณะเดียวกันงานด้านเด็กพิการก็มีความท้าทายมากขึ้นเช่นเดี่ยวกันการดำเนินงานข้องมูลนิธิฯ จึงได้มีการปรับตัวให้เข้ากับปัญหาและสถานการณ์มากขึ้นเช่นกันโดยเฉพาะงานฟื้นฟูเด็กพิการโดยชุมชนที่ได้ขยายงานไปยังภาคใต้โดยมีโครงการที่นครศรีธรรมราช งานส่งเสริมศักยภาพครอบครัว โดยมูลนิธิฯ ได้ตระหนักถึงศักยภาพและพลังของครอบครัวคนพิการ ในการร่วมตัวเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาลูกหลานตนเองนอกจากนั้นยังเน้นการรณรงค์ส่งเสริม โดยเฉพาะทางด้านการพลักดันด้านกฎหมาย เพื่อประโยชน์ต่อเด็กพิการ
จากประสบการณ์ 20 ปีของมูลนิธิฯ เราได้พัฒนาการทิศทางและแนวทางงานตลอดเวลา จากการพัฒนาฟื้นฟูเด็กพิการโดยเน้นที่เด็กพิการเป็นหลักเมือเด็กได้รับการพัฒนาแล้วกลับสู่สังคมและครอบครัวที่ยังมาเข้าใจปัญหาก็ทำให้การพัฒนาเด็กพิการกลับถ้อยหลังหรือหยุดอยู่กับที่ ดังนั้นมูลนิธิฯ จึงได้มีการส่งเสริมพัฒนาการศักยภาพครอบครัว เพื่อการกลับสู่ครอบครัวเด็กพิการ เพื่อให้ครอบครัวเป็นผู้ทำหน้าที่ในการฟื้นฟูเด็กต่อไปโดยมีการจัดกิจกรรมการอบรม พ่อแม่มือใหม่และกลุ่มนันทนาการเด็ก หรือที่เราเรียกว่า “สโมสรหอยทากปูลม” ซึ่งกลายเป็นโรงเรียนผู้ปกครองในการเพิ่มศักยภาพของตนเองในการดูแลเด็กพิการ ต่อไป

มูลนิธิฯ ไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้เพราะมูลนิธิฯ ได้ตระหนักถึงพลังของผู้ปกครองเป็นสำคัญ เมื่อผู้ปกครองได้ร่วมกันทำกิจกรรมและมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการช่วยเหลือกันมีการรวมกลุ่มเป็นชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ และได้พัฒนาเป็นเครือข่ายขยายไปยังกลุ่มผู้ปกครองอื่นๆ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นเวลา 32 ปี ดูเหมือนยาวนานเหลือเกิน และเราได้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ มาอย่างมากมาย มีทั้ง ทุกข์ สุข ท้อแท้ สมหวัง ล้วนทำให้มูลนิธิฯมีความมั่นใจในทิศทางการทำงานของมูลนิธิฯมากขึ้น เพื่อการดำเนินงานในการพัฒนาเด็กพิการต่อไป
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นและเป็นมืออาชีพในการพัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของเด็กพิการและครอบครัว
(FDC is committed and professional to develop all approaches for better quality of life of children with disabilities and their families)
-
พันธกิจ
- เสริมความเข้มแข็งให้แก่เด็กพิการ ครอบครัวเด็กพิการ เครือข่ายและชุมชน
- เพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการที่หลากหลาย ตรงความต้องการ เข้าถึงได้ด้วยหลายช่องทาง
- ผลักดันนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กพิการและครอบครัว
- พัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการฟื้นฟู ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการ
- เสริมสร้างความเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืนให้แก่องค์กร
เป้าหมายรวม
สร้างระบบการทำงานและกลไกที่เกื้อหนุนเชื่อมโยงกันเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการและครอบครัว
ค่านิยมขององค์กร มพก.
- ม. มุ่งมั่น – มุ่งมั่นทำงานและให้บริการที่เป็นเลิศ
- พ. พัฒนา – พัฒนาการทำงานรอบด้านและต่อเนื่อง
- ก. ก้าวสู่แถวหน้า – ก้าวสู่แถวหน้าด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการ
แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569)
มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นและเป็นมืออาชีพในการพัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของเด็กพิการและครอบครัว
(FDC is committed and professional to develop all approaches for better quality of life of children with disabilities and their families)
พันธกิจ
- เสริมความเข้มแข็งให้แก่เด็กพิการ ครอบครัวเด็กพิการ เครือข่ายและชุมชน
- เพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการที่หลากหลาย ตรงความต้องการ เข้าถึงได้ด้วยหลายช่องทาง
- ผลักดันนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กพิการและครอบครัว
- พัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการฟื้นฟู ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการ
- เสริมสร้างความเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืนให้แก่องค์กร
ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ 1 การพัฒนาศูนย์รวมความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านเด็กพิการและครอบครัว
ต่อยอดความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เดิมของ มพก. รวมถึงพัฒนาและสร้างความรู้ใหม่
- ยุทธศาสตร์ 2 การจัดบริการหลากหลายครอบคลุมทุกมิติ
พัฒนาการบริการเพื่อตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของเด็กพิการและครอบครัวโดยครอบคลุมในมิติอายุ เพศ ความพิการ เศรษฐกิจ ฯลฯ
- ยุทธศาสตร์ 3 การผลักดันนโยบายสวัสดิการและการคุ้มครองทางสังคม
ผลักดันนโยบาย สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ให้แก่เด็กพิการและครอบครัวทั่วประเทศ
- ยุทธศาสตร์ 4 การสนับสนุนความเข้มแข็งของเครือข่าย
สนับสนุนความเข้มแข็งของเครือข่ายในทุกระดับเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กพิการและครอบครัว
- ยุทธศาสตร์ 5 การเสริมสร้างองค์กรเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน
เสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมายรวม
สร้างระบบการทำงานและกลไกที่เกื้อหนุนเชื่อมโยงกันเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการและครอบครัว
กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเป้าหมายหลัก
- เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) อายุตั้งแต่แรกพบความพิการ – 25 ปี
- เด็กพิการ ประเภทความพิการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
- เด็กพิการทั่วไป อายุ 0-18 ปี
- ครอบครัวเด็กพิการ (ผู้ดูแลเด็กพิการ)
- ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- กลุ่มเป้าหมายรอง
- เครือข่ายครอบครัวเด็กพิการ
- ภาคีเครือข่าย องค์กร ด้านเด็กพิการ และคนพิการ
- ภาคีเครือข่ายด้านเด็ก
- ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
- อาสาสมัคร และผู้ใหญ่ใจดี (ผู้บริจาค ผู้สนับสนุน)
- สื่อมวลชน
- หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
- องค์กรภาคีความร่วมมือในแผนยุทธศาสตร์
- เครือข่ายครอบครัวเด็กพิการ
- สมาคมชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ สมาคมศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูเด็กพิการโดยครอบครัว ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ภาคีเครือข่าย องค์กร ด้านเด็กพิการ และคนพิการ
- ภาคีเครือข่ายด้านเด็ก และคณะทำงานด้านเด็ก
- ภาคีเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน (มูลนิธิฯ สมาคม และ ชมรม ต่างๆ)
- อาสาสมัคร และผู้ใหญ่ใจดี (ผู้บริจาค ผู้สนับสนุน)
- หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมส่งเสริมและพัฒนาคุรภาพชีวิตคนพิการ (พก.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
- หน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the children) องค์การยูนิเซฟประเทศไทย (Unicef) สมาคมโอซาก้าโดสะโฮ โซไซตี้ ประเทศญี่ปุ่น มูลนิธิเอ็มโอเอประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
ค่านิยมขององค์กร มพก.
- ม. มุ่งมั่น – มุ่งมั่นทำงานและให้บริการที่เป็นเลิศ
- พ. พัฒนา – พัฒนาการทำงานรอบด้านและต่อเนื่อง
- ก. ก้าวสู่แถวหน้า – ก้าวสู่แถวหน้าด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการ
ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
ศูนย์บริการคนพิการ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ใบอนุญาตเลขที่ 001/2558 ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ดำเนินงานโดยภายใต้ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และความช่วยเหลือแก่ เด็กพิการ, คนพิการ และผู้ดูแลคนพิการ ตามประเภทความพิการทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหว รวมทั้งการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเด็กสมองพิการโดยผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนครอบครัวและชุมชนให้สามารถฟื้นฟูเด็กพิการได้ด้วยตนเอง ซึ่งได้มีการดำเนินการตามภารกิจของศูนย์บริการคนพิการ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน
เปิดให้บริการ ทุกวันจันทร์ และ วันอังคาร ของสัปดาห์ (2 วันต่อสัปดาห์)
ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.00 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)
กิจกรรมให้บริการ ประกอบด้วย 6 ชุดกิจกรรม (ชุดกิจกรรมละ 60 นาที) ได้แก่
ในข่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นกิจกรรมฟื้นฟูออนไลน์ ตั้งแต่ มิถุนายน 2564 – ปัจจุบัน
ออนไลน์โปรแกรม Zoom ในระบบออนไลน์ผ่าน Facebook fanpage กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
ในระบบออนไลน์ ผ่าน page facebook มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ และ page facebook ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
เวลา 10.00 น. และเวลา 14.00 น. ทุกวันจันทร์ อังคาร และ พฤหัสบดี ( 3 วันต่อสัปดาห์)
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)
1) การฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่-มัดเล็ก (รายบุคคล)
2) การนวดไทยเพื่อบำบัดและฟื้นฟูเด็กพิการ (รายบุคคล)
3) การฝึกการเคลื่อนไหว (รายบุคคล)
4) การเสริมสร้างพัฒนาการ – การกระตุ้นพัฒนาการ (รายกลุ่ม)
5) การพัฒนาสู่สุขภาวะ – สวนบำบัด (รายกลุ่ม)
6) การเสริมสร้างพัฒนาการ – ดนตรีเข้าจังหวะเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ (รายกลุ่ม)
หมายเหตุ : การให้บริการอยู่ภายใต้คณะกรรมการประเมินศักยภาพคนพิการ ประจำปี 2562 ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ทะเบียนเลขที่ 2383 ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2544 มีเป้าหมายให้ลูกได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้เต็มตามศักยภาพของเด็กและผู้ปกครอง และได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำความเข้าใจในความพิการของลูก ตลอดจนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน เสริมสร้างกำลังใจซึ่งกันและกัน โดยการดำเนินงานภายใต้ชื่อกลุ่ม “ศูนย์เรียนรู้ฟื้นฟูเด็กพิการโดยครอบครัว” ปัจจุบัน ได้เปิดดำเนินกิจกรรมทั้งสิ้น 8 ศูนย์ ใน 8 พื้นที่
วัตถุประสงค์ของชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ
- เสริมสร้างกำลังใจ และความเข้มแข็งของครอบครัวเด็กพิการ
- เสริมสร้าง ทักษะผู้ปกครอง และครอบครัวในการเลี้ยงดูฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการได้ ด้วยตนเอง
- ส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาเด็กพิการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและการเรียนรู้
- คิด ค้น พัฒนารูปแบบสวัสดิการครอบครัว เพื่อการพึ่งตนเองของครอบครัวเด็กพิการ
- สร้างเสริม พัฒนารูปแบบเครือข่ายครอบครัวเด็กพิการ และเชื่อมโยงภาคีอื่นๆ
เป้าหมาย
เพื่อครอบครัวเด็กพิการมีความสุข พึ่งตัวเองได้ มีสุขภาวะที่ดี สังคมให้การยอมรับมีระบบบริการ ที่เหมาะสมรองรับและได้รับการสนับสนุนโดยภาครัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการ ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ
- นายอดิศักดิ์ รอดสุวรรณ ประธานชมรม
- นายเผด็จ มหาตมวดี รองประธาน
- นางแสงเพลิน จารุสาร เลขานุการ
- นางสร้อยพัชร เอมสุวรรณ์ เหรัญญิก
- นางอมรวรรณ บริรักษ์ กรรมการ
- นางสาวนิสสัย ผาสุข กรรมการ
- นางอรุณรุ่ง อาชวเมธ๊ กรรมการ
- นายสุนทร สถาพร กรรมการ
- นางหนูค่ำ บุญสวน กรรมการ
- นางจารึก ศรีทอง กรรมการ
ศูนย์เรียนรู้ฟื้นฟูเด็กพิการโดยครอบครัว ที่ดำเนินโครงการตามพื้นที่ต่างๆ
สมาคมศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูคนพิการโดยครอบครัว (แม่ปาล์ม)
ที่ตั้ง : 49/113ม.สุดใจวิลเลจ2 แขวงลำผักชี ข.หนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
หัวหน้าศูนย์ : คุณหนูค่ำ บุญสวน
โทร.093-8566036
อีเมล์ : [email protected]
เปิด : ทุกวัน (จันทร์-ศุกร์ ครูมาสอน) (เสาร์-อาทิตย์ จิตอาสามาช่วยดูแลเด็ก)
ชมรมศูนย์เตรียมความพร้อมทักษะการดำรงชีวิตครอบครัวเด็กพิการ (แม่รุ่ง)
ที่ตั้ง : 320/95 หมู่บ้านบุษรา ถ.มาเจริญ ชอยเพชรเกษม 81 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 10160
หัวหน้าศูนย์ : คุณรุ่งอรุณ ศรีวิชัย
โทร.02 001 6701
เปิด : ทุกวันจันทร์ (สำหรับเด็กเล็ก)-อังคาร(สำหรับเด็กโต)-พฤหัสบดี(กิจกรรมว่ายน้ำ)
ศูนย์เรียนรู้ ฟื้นฟูเด็กพิการโดยครอบครัว พื้นที่สะพานสูง (คุณแม่สร้อยเพชร)
ที่ตั้ง : ห้องเรียนเด็กพิการในสวน ตู้สีฟ้า ซ.นักกีฬาแหลมทอง3 กรุงเทพมหานคร 10250
หัวหน้าศูนย์ : คุณสร้อยเพชร เอมสุวรรณ์
เบอร์โทร.089 175 5336
อีเมล์ : [email protected]
เปิด : วันจันทร์ – ศุกร์ (หยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์)
ชมรมเรียนรู้ฟื้นฟูเด็กพิการโดยครอบครัว บางแค (แม่เพลิน)
ที่ตั้ง : 275 ถนนพุทธมนฑลสาย 2 ซอย 7 แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160
หัวหน้าศูนย์ : นางแสงเพลิน จารุสาร
เบอร์โทร.086-9065223
อีเมลล์ : [email protected]
เปิด : ทุกวันพุธ
ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ เขตบึงกุ่ม
ที่ตั้ง : 23/96 ซ.นวมินทร์161 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
หัวหน้าศูนย์ : นางขวัญประชา พลทวี
โทร : 098-2729496
อีเมลล์ : [email protected]
เปิด : ทุกวันเสาร์ (แน่นการออกสถานที่ เรียนรู้สังคมภายนอก โดยเรียนรู้สู่โลกกว้างเป็นหลัก)
ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ เขตบางพลัด
ที่ตั้ง : 647 ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
หัวหน้าศูนย์ : คุณฐิตินันท์ สรรพกิจ (แม่เก่ง)
โทร : 081-1776462
อีเมลล์ : [email protected]
เปิด : ทุกวันอังคาร
ศูนย์การเรียนรู้และฟื้นฟูเด็กพิการโดยครอบครัว เขตวังทองหลาง
ที่ตั้ง : มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ 546 ซ.ลาดพร้าว 47 แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
หัวหน้าศูนย์ : คุณทัศนี สิงค์ทอง
โทร : 085-4432183
อีเมลล์ : [email protected]
เปิด : ทุกวันพฤหัสบดี
ศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูเด็กพิการโดยครอบครัว เขตพื้นที่บางนา
ที่ตั้ง : ศูนย์บริการสาธารณสุข 8 (บุญรอด รุ่งเรือง) เลขที่ 119 ซ.อุดมสุข 18 ถ.สุขุมวิท 103 แขวงบางนา
เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10310
หัวหน้าศูนย์ : คุณอมรวรรณ บริรักษ์
โทร : 095-9231979
อีเมล์ : ไม่มี
เปิด : เน้นลงเยี่ยมบ้าน (วันมีเคสเยี่ยมบ้าน)
ประกาศ คำสั่ง มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ฉบับที่ 3/2565
เรื่อง มาตรคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
ใบรับรองมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการ (ออกให้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๒)

ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน
ใบสำคัญแสดงการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์
ใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์บริการทั่วไป
รายชื่อคณะกรรมการดำเนินการศูนย์บริการ
ร่างข้อบังคับศูนย์บริการคนพิการ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
คำสั่ง ศูนย์บริการ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
ระเบียบนโยบายการปกป้อง คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
ของ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการฉบับ ปี พ.ศ.2565
แบบฟอร์มขอความยินยอมจากผู้รับบริการ
ใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การ
บัญชีมูลนิธิหรือหนังสือให้อำนาจจัดตั้ง เปลี่ยนแปลงมูลนิธิ
หนังสือรับรอง การเป็นองค์เอกชนด้านสิทธิมนุษยชน
หนังสือการประกาศกำหนดให้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
ม.น.๔ แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ๓ มกราคม ๒๕๖๓
ตราสาร ฉบับ๓ พ.ศ.๒๕๕๖
สถาบันการนวดไทย มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
แผ่นพับมูลนิธิฯ