โครงการ การจัดการความรู้ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการและคนพิการเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ ของคนพิการ

(Project for Knowledge management on Disabilities and Rehabilitation in Children and Adults for Application to Capacity Building for Persons with Disabilities)

    1. ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล

    1.1 สถานการณ์คนพิการในประเทศไทย

    จากรายงานข้อมูลสถานการณ์ของคนพิการในประเทศไทยของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของ คนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2564 พบว่า มีคนพิการทั่วประเทศจํานวน 2,102,384 คน โดยเป็น ปฐมวัย (0-5 ปี) จํานวน 11,523 คน วัยเรียน (6-14 ปี) จํานวน 66,879 คน วัยรุ่น (15-21 ปี) จํานวน 72,761 คน วัยทํางาน (15-59 ปี) จํานวน 855,816 คน วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จํานวน 1,168,165 คน ซึ่งมีจํานวนคนพิการที่ได้รับการศึกษา มีจํานวน 1,625,191 คน คิดเป็นร้อยละ 77.30 ของคนพิการที่มีบัตร ประจําตัว คนพิการ โดยร้อยละ 81.45 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คนพิการที่ประกอบอาชีพมีจํานวน 315,164 คน คิดเป็น ร้อยละ 36.83 ของจํานวนคนพิการวัยทํางานทั้งหมด จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า คนพิการนั้นครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ โดยคนพิการที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีจํานวนมากที่สุด และเด็กพิการที่อายุตํ่ากว่า 21 ปี มีจํานวน 151,163 คน อย่างไรก็ตาม คนพิการที่เข้ารับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ซึ่งตํ่ากว่าการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมาย


    1.2 สถานการณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

    ประเทศไทยมี พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทยที่ระบุเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางด้านการแพทย์ การ ศึกษา สังคม และอาชีพของคนพิการ ต่อมาได้ปรับปรุงเป็น พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งยังคงการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้ง 4 ด้านไว้ แต่การฟื้นฟู สมรรถภาพนั้นยังดําเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ และสถาบันทางวิชาการเป็นหลักในปี พ.ศ.2552 มีประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง “การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เครื่อง ช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ สําหรับคนพิการ พ.ศ.2552” ที่กําหนดให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการแพทย์ มีจํานวน 26 บริการ และประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด เมื่อปี พ.ศ.2564 ที่ได้มีการทบทวนกําหนดให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการแพทย์ มีจํานวน 25 บริการ (ตามประกาศประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดย กระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการและสื่อส่งเสริมพัฒนาการสาหรับคนพิการ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564) ซึ่งพบว่า การจัด บริการฟื้นฟูดังกล่าว สถานบริการสาธารณสุขส่วนใหญ่ยังไม่สามารถจัดบริการต่างๆ ได้ครบทั้ง 25 บริการ


    ใน ปี พ.ศ. 2553 ในการประชุม สมัชชาสุขภาพครั้งที่ 3 มติที่ 2 เรื่อง “ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ” ได้มีมติว่าด้วย “การออกหรือปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการสนับสนุนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรด้านคนพิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าเป็นหน่วยร่วมจัดบริการสุขภาพสําหรับคนพิการ” การมีมติให้องค์กรคนพิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสุขภาพสําหรับคนพิการได้ เป็นการเปลี่ยนบทบาทขององค์กรคนพิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มาดําเนินการจัด บริการการฟื้นฟูสมรรถภาพสําหรับคนพิการในท้องถิ่นและชุมชน โดยปัจจุบัน มีศูนย์บริการคนพิการ ทั้งหมดที่จัดตั้งขึ้นโดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ จํานวน 2,961 แห่ง (แบ่ง เป็น ศูนย์บริการ โดยองค์กรด็านคนพิการ 189 แห่ง ศูนย์บริการคนพิการ โดยหน่วยงานภาครัฐ 195 แห่ง และศูนย์บริการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2,577 แห่ง) ซึ่งมีชุดความรู้และ ประสบการณ์ในการจัดบริการสําหรับคนพิการจํานวนมาก แต่ยังไม่มีการรวบรวมหรือจัดระบบองค์ความรู้สําหรับคนพิการเพื่อนํามาขยายผลและเรียนรู้ร่วมกัน


    ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้ ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้การรับรอง และสถานบริการอื่นที่เข้าตามเกณฑ์ของ สปสช. สามารถเข้าร่วมเป็นสถานบริการสาธารณสุขอื่น ตามมาตรา 3 ของ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.2545 ได้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและลดความแออัดจากหน่วยบริการสาธารณสุขหลัก


    1.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สสส. (พ.ศ. 2565-2567)

    สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นองค์กรทุนที่มีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของคนพิการมาโดยตลอด ได้จัดทํา ยุทธศาสตร์การ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 3 ปี (พ.ศ.2556-2567) โดยมีเป้าหมาย คนพิการกลุ่มเป่าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพและสถานะทางสุขภาพที่เหมาะสม จุดเน้นข้อ 3 การสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ของคนพิการ


    แนวทางการดําเนินงานสําคัญ คือ ข้อ 3 ทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้/นวัตกรรม/หลักสูตร/กระบวนการเพื่อพัฒนาในประเด็นที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนาคนพิการ ข้อ 4 พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายระดับต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดบริการ หรือขับเคลื่อนงานด้านคุณภาพชีวิตคนพิการในมิติต่างๆ รวมถึงความเข้าใจต่อเครื่องมือ และกระบวนการตอนแบบที่สํานักพัฒนาไว้เพื่อการขยายผล โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวกำหนดสุขภาพ ภาคีปฏิบัติการเกิดความรู้ ความเข้าใจในทักษะการขับเคลื่อนงานตามประเด็นจุดเน้นของการขับเคลื่อนคนพิการ


    ปัจจุบันศาสตร์การฟื้นฟูสมรรถภาพสําหรับเด็กพิการ/คนพิการ ในประเทศไทยมีทั้งศาสตร์ทางหลัก การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation) โดยนักวิชาชีพ สาขาต่างๆ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ (เช่น แพทย์ แพทย์) นักวิชาชีพด้านการบําบัด (เช่น นักกิจกรรมบําบัด นักกายภาพบําบัด นักแก้ไขการพูด) ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์เครื่องช่วย (เช่น นักกาย อุปกรณ์เสริม/เทียม) และเจ้าหน้าที่ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพต่างๆ เป็นต้น และมีศาสตร์การบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางเลือก (Alternative Rehabilitation) เป็นศาสตร์การฟื้นฟู สมรรถภาพสําหรับเด็กพิการ/คนพิการ ที่เป็นประจักษณ์ และจัดบริการโดยองค์กรด้านคนพิการ/เด็กพิการ ที่เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดและรับรองไว้ เช่น ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป มูลนิธิ สมาคม ชมรม ต่างๆ ซึ่งมีความหลากหลายตามประเภทความพิการ ทั้ง 7 ประเภทความพิการ ตามที่ กฎหมายกําหนดไว้ ได้แก่ (1) ความพิการทางการเห็น (2) ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย (3) ความพิการ่างกายหรือการเคลื่อนไหว (4) ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม (5) ความพิการทางสติปัญญา (6) ความพิการทางการเรียนรู้ และ (7) ออทิสติก


    ทั้งนี้ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ในฐานะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากําไร เริ่มดําเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ.2525 เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กสมองพิการ ในฐานะเป็นศูนย์ฟื้นฟูเด็กพิการ ต่อมา จึงได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อเด็กพิการที่ถูกต้อง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529 และดําเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการ ในรูปแบบใช้ครอบครัวเป็นฐาน ตระหนักถึงพลังของผู้ปกครองเด็ก พิการเป็นสําคัญ โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน และองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันในปี 2565 นี้ ครบรอบการดําเนินงาน 40 ปี และ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เป็นองค์กรหนึ่งที่จัดบริการ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และพัฒนาศาสตร์การบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางเลือกสําหรับเด็กพิการ เช่น การฝึกการเคลื่อนไหวแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) เมื่อปี พ.ศ.2522 ของ เล่นเพื่อการฟื้นฟูเด็กพิการ เมื่อปี พ.ศ.2528 การนวดไทยสําหรับเด็กพิการ เมื่อปี พ.ศ.2545 และล่าสุด คือ สวนบําบัดสําหรับเด็กพิการ เมื่อปี พ.ศ.2558 เป็นต้น



    มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จึงจัดทํา “โครงการการจัดการความรู้ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการและคนพิการเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ของคนพิการ” ขึ้น เพื่อทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้/นวัตกรรม/หลักสูตร/กระบวนการเพื่อพัฒนาในประเด็นการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ การฟื้นฟูและพัฒนาเด็กและคนพิการขององค์กรภาคีด้านความพิการในสังคมไทย และสร้างกระบวนการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายระดับต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดบริการ หรือขับเคลื่อนงานด้านคุณภาพชีวิต คนพิการในมิติต่างๆ


    2. วัตถุประสงค์ระดับโครงการ

    1. เพื่อศึกษา สํารวจ และรวบรวม ข้อมูลสถานการณ์ ข้อมูล ความรู้ต่างๆ ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการ/คนพิการ ที่เป็นองค์ความรู้เชิง ประจักษ์ขององค์กรด้านความพิการซึ่งเกิดจากกระบวนการทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้/นวัตกรรม/หลักสูตร/กระบวนการ นําไปสู่การสร้าง องค์ความรู้

    2. เพื่อเกิดชุมชนวิชาการที่มีฉันทะในการเรียนรู้และนําไปปฏิบัติ และเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการเรียนรู้และนําไปปฏิบัติ ของเด็กพิการ/คน พิการ ให้เด็กพิการ คนพิการ และครอบครัว รวมทั้งองค์กรด้านคนพิการ และชุมชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการนําความรู้หรือนวัตกรรมไปใช้

    3. เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ยังใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบออนไลน์ และการเผยแพร่องค์ความรู้ เชิงประจักษ์ขององค์กรด้านคนพิการ ชุมชน กลุ่ม/ชมรม/สมาคม ตามประเภทความพิการ และสร้างการมีส่วนร่วม ของเด็กพิการ คนพิการ และครอบครัว รวมทั้งองค์กรด้านคน พิการ ชุมชน

    3. เป้าประสงค์ (Goal)

    1. มีองค์ความรู้ที่เป็นความรู้เชิงประจักษ์ขององค์กรด้านความพิการ ซึ่งเกิดจากกระบวนการทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้/นวัตกรรม/ หลักสูตร/กระบวนการเพื่อพัฒนาในประเด็นที่เป็นในจุดเน้นของการพัฒนาคนพิการ จะเน้น เพื่อที่จะนําไปขยายผลและใช้ในการดูแลสุขภาพของเด็กและคนพิการ

    2. เกิดชุมชนวิชาการที่มีฉันทะในการเรียนรู้และนําไปปฏิบัติ ซึ่งนับว่าเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ระดับต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดบริการ หรือขับเคลื่อนงานด้านคุณภาพชีวิตคนพิการ จะเน้นการเกิดชุมชนวิชาการที่มีฉันทะในการเรียนรู้

    3. เกิดกระบวนการเรียนรู้ยังใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบออนไลน์ เกิดความตระหนักรู้ และเห็นความสำคัญของการจัดการองค์ความรู้อย่าง เป็นระบบ และองค์ความรู้เชิงประจักษ์ขององค์กรด้านคนพิการ ชุมชน กลุ่ม/ชมรม/สมาคม ตามประเภทความพิการ ตลอดจนเด็กพิการ คน พิการ และครอบครัว

    4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ (Conceptual framework)

    1. การทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้/นวัตกรรม/หลักสูตร/กระบวนการเพื่อพัฒนาในประเด็นที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนาคนพิการ จะเน้น ความรู้ที่เป็นความรู้เชิงประจักษ์ขององค์กรด้าน ความพิการ เพื่อที่จะนําไปขยายผลและใช้ในการดูแลสุขภาพของเด็กและคนพิการได้จริง และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 3 ปี ของ สสส. (ปี พ.ศ. 2565-2567) คือ คน พิการกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพและสถานะทางสุขภาพที่เหมาะสม

    2. กระบวนการสำคัญในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายระดับต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดบริการ หรือขับเคลื่อนงานด้านคุณภาพชีวิตคนพิการ จะเน้นการเกิดชุมชนวิชาการที่มีฉันทะในการเรียนรู้และนําไปปฏิบัติ เกิดชุมชนในแนวราบและเชื่อมโยงกันด้วยองค์ความรู้ต่างๆ ที่ชุมชนวิชาการเป็นผู้สร้างและนําไปใช้จริง

    3. นอกจากนี้ กระบวนการเรียนรู้ยังใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบออนไลน์ เพื่อการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และเข้าถึงคลังความรู้ของชุมชนวิชาการต่างๆ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในภาวะชีวิตวิถีใหม่

    5. ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ (outcome/ Impact)

    5.1 ผลลัพธ์ ระยะสั้น

    1. ได้ข้อมูล ชุดความรู้ องค์ความรู้ ตามประเภทความพิการ ทั้ง 7 ประเภท
    2. สื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบคลิปวิดิโอ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 10 ชุด


    5.2 ผลลัพธ์ ระยะกลาง

    1. ได้องค์ความรู้ ตามประเภทความพิการ ทั้ง 7 ประเภท โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (CRSM Model) อย่างมีระบบ และมีฐาน ข้อมูลความรู้ และคลังองค์ความรู้ เพื่อการนําไปใช้งานอย่างมีระบบ
    2. เกิดชุมชนวิชาการ ที่สมาชิกได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และในการนําความรู้ไปใช้มีช่องทางการเผยแพร่ และสร้างการมีส่วนร่วม ของเด็กพิการ คนพิการ และครอบครัว รวมทั้งองค์กรด้านคนพิการ ชุมชน ในการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่อชุดความรู้ในรูปแบบต่างๆ


    5.3 ผลลัพธ์ ระยะยาว

    1. มีฐานข้อมูลองค์ความรู้ ที่เรียกว่า “คลังองค์ความรู้ ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการ” ทั้ง 7 ประเภทความพิการ เพื่อเผยแพร่
    2. เกิดชุมชนวิชาการ ที่มีฉันทะในการเรียนรู้และนําไปปฏิบัติ และองค์กรด้านคนพิการ และชุมชน ได้เสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ของ เด็กพิการ/คนพิการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการนําความรู้ไปใช้ และพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ
    3. เด็กพิการ/คนพิการ ในชุมชนวิชาการ (กลุ่มเป้าหมายหลัก) มีพฤติกรรมสุขภาพและสถานะทางสุขภาพที่ที่เข้มแข็งและเหมาะสม ในการ พึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
    4. ผลักดันนโยบายด้านสิทธิประโยชน์ต่อการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการ/คนพิการ ในระบบการขับเคลื่อนงานด้านคุณภาพชีวิตคนพิการใน มิติต่างๆ
    5. มีองค์กรกลาง/หน่วยงานกลาง ที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดูแลและบํารุงรักษาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้


    6. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

    1. มีชุดองค์ความรู้เชิงประจักษ์ อย่างน้อย 10 ชุดความรู้/ชุดบริการ (โดยเทียบเคียงกับประกาศชุดบริการการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ จํานวน 25 บริการ) ที่จัดเก็บอย่างเป็นระบบและสามารถนำไปถ่ายทอด/เผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ

    2. เกิดชุมชนวิชาการ ที่มีสมาชิก คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เด็กพิการ คนพิการ และครอบครัวองค์กรด้านคนพิการ) ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการ รวมจํานวน 100 คนได้นําชุดความรู้ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนําไปใช้ประโยชน์

    3. มีชุมชนวิชาการ ที่เป้นองค์กร/หน่วยงานด้านคนพิการ ทุกประเภทความพิการ จํานวน 30 องค์กร และเครือข่ายประเภทความพิการ ทั้ง 7 ประเภทความพิการ นําชุดความรู้ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนําไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งขายผลต่อสมาชิกในองค์กรของตนเองได้อย่างเป็นระบบ

    4. ได้ชุดรายงานผลเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามประเภทความพิการ 7 ประเภท (7 ชุด) ตามประเภทความพิการ และชุดรวมทุกประเภทความพิการ 1 ชุด รวมเป็น 8 ชุด ที่สามารถส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/เผยแพร่สู่สาธารณะ

    5. มีระบบฐานข้อมูล ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ในระบบออนไลน์ 1 ระบบ ชุมชนวิชาการและ/หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องและบุคคคลที่สนใจ สามารถเข้าถึงและนําไปใช้ประโยชน์ได้

    6. มีช่องทางเผยแพร่การเรียนรู้ โดยการเชื่อมต่อกับช่องทางการสื่อสารหลักขององค์กรตามประเภทความพิการ ทั้ง 7 ประเภทความพิการ เช่น เพจ เว็บไซด์ ยูทูป เป็นต้น อย่างน้อย 2 ช่องทาง ต่อหนึ่งประเภทความพิการ

    7. แผนการดําเนินงาน (ระเบียบวิธีการวิจัย)

    1. การทบทวนวรรณกรรม ทบทวนองค์ความรู้ในการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการขององค์กรด้านความพิการในประเทศไทย (ทบทวนจากเอกสารวิชาการต่างๆ ในประเทศไทย และการพูดคุย Focus Group)

    2. การคัดเลือกความรู้ที่เป็นความรู้เชิงประจักษ์ขององค์กรด้านความพิการ เพื่อที่จะนําไปขยายผลและใช้ในการดูแลสุขภาพของเด็กและคนพิการได้จริง 10 ชุดความรู้/ประสบการณ์ (โดยเทียบเคียง กับประกาศชุดบริการการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ จำนวน 25 บริการ)

    3. การจัดการองค์ความรู้อย่างมีระบบ CRSM Model ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้
      1. การถอดความรู้ (Knowledge Capture)
      2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)
      3. การนําความรู้ไปใช้ (Knowledge Reuse)
      4. การบำรุงรักษาความรู้ (Knowledge Maintenace)

    4. การสนับสนุน/เสริมสร้าง ชุมชนวิชาการที่มีฉันทะในการเรียนรู้และนําไปปฏิบัติ
      1. ชุมชนวิชาการตามประเภทความพิการ
      2. ชุมชนวิชาการตามประเภทการจัดบริการ เช่น การจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป สปสช. กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
      3. ชุมชนวิชาการตามองค์ความรู้ที่สนใจ เช่น การคุ้มครองสิทธิของคนพิการ สวนบําบัด นวดไทยสำหรับคนพิการทางการเห็น เป็นต้น
      4. การจัดทำคลังความรู้ ห้องสมุดความรู้ ระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์
      5. การประเมินผล ปัญหาอุปสรรค จากภาคีเครือข่าย ชุมชนวิชาการ

    8. การกำกับติดตามและการประเมินติดตามภายในโครงการ

    1. มีคณะกรรมการวิชาการโครงการฯ เป็นกลไกในการกำกับติดตามการดําเนินงานของโครงการฯ เป็นระยะๆ พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะแนวทางการในการดําเนินงานโครงการฯ

    2. การประเมินผลกิจกรรม มีกระบวนการประเมินผล ทั้งก่อนและหลังกิจกรรม

    3. การประเมินตัวชี้วัดสำคัญของโครงการฯ ดำเนินการทบทวนเป็นระยะๆ ตามงวดโครงการฯ

    4. การประเมินผลจะเน้นการประเมินแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวิชาการ (องค์กรภาคีเครือข่าย) ที่เข้าร่วมโครงการฯ และที่ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

    9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ได้ชุดองค์ความรู้เชิงประจักษ์ ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการ/คนพิการ ที่เป็นองค์ความรู้เชิงประจักษ์ขององค์กรด้านความพิการ ซึ่งเกิดจากกระบวนการทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้/ นวัตกรรม/หลักสูตร/กระบวนการ นําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ตามประเภทความพิการ ในประเทศไทย โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (CRSM Model) อย่างมีระบบ และมีฐานข้อมูลความรู้ และคลังองค์ความรู้ เพื่อการนําไปใช้งานอย่างมีระบบ

    2. เกิดชุมชนวิชาการที่มีฉันทะในการเรียนรู้และนําไปปฏิบัติ และเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการเรียนรู้และนําไปปฏิบัติ ของเด็กพิการ/คนพิการ ให้เด็กพิการ คนพิการ และครอบครัว รวมทั้ง องค์กรด้านคนพิการ และชุมชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการนําความรู้หรือนวัตกรรมไปใช้ และพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ

    3. มีคลังความรู้ของชุมชนวิชาการ (ระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบออนไลน์) และมีช่องทางในการเผยแพร่องค์ความรู้เชิงประจักษ์ขององค์กรด้านคนพิการ ชุมชน กลุ่ม/ชมรม/สมาคม ตามประเภทความพิการอย่างมีส่วนร่วม ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านสื่อชุดความรู้ในรูปแบบต่างๆ และรณรงค์การใช่สื่อชุดความรู้ องค์ความรู้ไปใช้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนเกิดความเข็มแข็งของเครือข่าย ในการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน

    4. มีองค์กรกลาง/หน่วยงานกลาง ที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดูแลและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้