มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

ความหมายของโดสะโฮ

ความหมายของโดสะโฮ
ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา นอกเหนือจากการทำการศึกษาวิจัยแล้ว ยังมีการพัฒนาความรู้ทางคลินิกเกี่ยวกับกลไกการทำงานของกล้ามเนื้อในด้านจิตวิทยา ในญี่ปุ่น การทำงานของกล้ามเนื้อได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องทางด้านจิตวิทยาในลักษณะที่เป็นกลไกของระบบกล้ามเนื้อ โครงสร้าง ระบบสมองประสาทในลักษณะฟิสิกส์ของการเคลื่อนไหวร่างกายหรือ Kinesiology แต่อาจารย์นารูเซได้เสนอมุมมอง หรือทฤษฏีใหม่ (คศ.1973) เกี่ยวกับ “โดสะ”ซึ่งอาจารย์ได้พยายามชี้ว่า กลไกของร่างกายนั้นคอบคุมโดย เจ้าของร่างกาย (หมายถึงจิต)
           โดสะ หมายถึงกระบวนการของเจ้าของร่างกายในการตระหนักเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งสั่งการโดยเจ้าของสิ่งนี้เป็นกลไกทางจิต ซึ่งมีเป้าหมายในการบังคับหรือระลึกรู้ เกี่ยวกับท่าการเคลื่อนไหวของร่างกายซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวเป็นกลไกการควบคุมของเจ้าของร่างกายในการควบคุมการเคลื่อนไหวซึ่งมีการกำหนดเหมือนเป็นกระบวนการของ ความตั้งใจ-ความพยายาม-การเคลื่อนไหวร่างกาย
          โดสะโฮ หรือ วิธีโดสะ หมายถึงกิจกรรมในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเกิดหรือกระทำกิจกรรมโดสะโดยแพทย์ นักกายภาพบำบัดหรือบุคลากรด้านนี้ ในสถาบันโดสะโฮ ผู้ป่วยจะถูกกระตุ้นโดยนักบำบัดให้ทำการเคลื่อนไหวร่างกาย ในกระบวนการของความตั้งใจของผู้ป่วยในการพยายามเคลื่อนไหว นักบำบัดจะฝึกผู้ป่วยทำโดสะจนผู้ป่วยสามารถ ทดลองทำได้ด้วยตนเอง และทำร่วมกับนักบำบัดในกิจกรรมที่กำหนดไว้ ดังนั้นนักบำบัดโดสะโฮ มีหน้าที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดแรงบันดาลใจ (แรงจูงใจ) ในการทำกิจกรรมต่างๆกับนักบำบัด ดังนั้นโดสะโฮ อาจเป็นวิธีการที่ใหม่และมีประโยชน์มากในจิตวิทยาคลินิกอันใกล้นี้
มีรายงานเกี่ยวกับการทดลองทางคลินิกในด้านการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือการทำงานของกล้ามเนื้อ ว่าเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพและจิต บางอย่างมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยฝึกโดสะ บางอย่างไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่น การให้ผู้ป่วยพยายามคลายกล้ามเนื้อหรือร่างกาย และบางอย่างให้ผู้ป่วยเกิดการผ่อนคลายร่างกายโดยเกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมอื่น เช่น การเต้นรำหรือวิ่งเป็นต้น อย่างหลังไม่นับเป็นโดสะโฮ เนื่องจากการเกิดการผ่อนคลายของร่างกายเกิดจากปรากฏการณ์ทางสรีระวิทยา ในทางตรงกันข้าม โดสะโฮพยายามให้ผู้ป่วยผ่อนคลายร่างกายของตนเองโดยอาศัยจิตไปสั่งการให้ร่างกายทำงาน
การรายงานโดยย่อเกี่ยวกับพัฒนาการในจิตวิทยาคลินิก
         แม่ว่า Narues’Jiko-control training system (1981) รวมทั้งวิธีของ Jacobson เกี่ยวกับการผ่อนคลาย ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งของโดสะโฮ ได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อการนำไปรักษาทางจิต และสุขภาพของใจและกาย ซึ่งเป็นมุมมองของการรักษาทาง psycho-somatic medicine จะมีการประยุกต์ใช้ตั้งแต่ 1950 ในญี่ปุ่นหนทางใหม่ของโดสะโฮได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาและรักษาเด็กสมองพิการ ตั้งแต่ คศ. 1966  วิธีการทุกชนิดรวมทั้งวิธีการดั้งเดิมของออร์โธปิดิกส์ และ การฝึกทางประสาทวิทยารู้จักกันในนาม Bobath’s method หรือ Vojta ได้ถูกทดสอบ อย่างไรก็ตามวิธีการต่างๆเหล่านี้ซึ่งใช้กันมาหนึ่งในสิ่งของศตวรรษได้แนะนำให้เราเลือกวิธีการทางจิตวิทยามากกว่าวิธีการทางจิตวิทยามากกว่าวิธีการทางกายภาพ หรือสรีระวิทยาเนื่องจากข้อเท็จจริงที่สำคัญคือ ความพิการพื้นฐานของเด็กสมองพิการคือความยุ่งยาก (ลำบาก) ทางจิตในการเคลื่อนไหวร่างกายให้ปรกติดตามความต้องการ
ดังนั้นวิธีการที่เป็นระบบของโดสะโฮ ได้พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยแนะนำหนทางหรือฝึกเด็กสมองพิการให้รู้จักการควบคุมในการเรียนรู้ท่วงทำนองการเคลื่อนไหวของร่างกาย (นารูเซ 1973,1985) และได้แสดงให้เห็นผลสำเร็จในการฝึกเด็กสมองพิการเดิน ในปัจจุบันโรงเรียนและ สถาบันส่วนใหญ่ที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กสมองพิการ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ได้นะวิธีการของโดสะโฮไปใช้ ในการฝึกเด็กที่มีปัญหาทางกล้ามเนื้อ

เป็นเวลาสิบห้าปีที่ผ่านมา นักวิจัยชาวญี่ปุ่นได้พบว่าการฝึกโดสะโฮ สำหรับเด็กสมองพิการนั้น มีประโยชน์และใช้บำบัดเด็กที่มีความผิดปรกติด้านอารมณ์และเด็กออทิสติก (นารูเซ,1984 คอนโด,1989) และปัจจุบัน วิชาการโดสะโฮเป็นวิธีการหลักในการบำบัดหลุ่มเด็กเหล่านี้ในโรงเรียนและโรงพยาบาล มีการนำวิธีการโดสะโฮใช้ฝึกเพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย ฝึกท่าเดินและยืนสำหรับเด็กดาวน์ และเด็กที่มีปัญหาในการพูด (ทานากะ,1984) ปัจจุบัน โดสะโฮมีบทบาทสำคัญในการบำบัดเด็กในโรงเรียนพิเศษของญี่ปุ่น
วิธีการดัดแปลงจาก Jacobson’ progressive relaxation เพื่อให้เกิด “การควบคุมด้วยตนเอง” โดยอาจารย์ นารูเซ ได้แสดง ให้เห็นถึงคุณค่าในการบำบัดไม่เพียงแต่อาการกระวนกระวายใจและอาการทางประสาทด้านต่างๆ เท่านั้นแต่ยังมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ การฝึกผ่อนคลายเฉพาะที่ของร่างกายเช่น คอ ไหล่ เอว มีผลอย่างมหัศจรรย์ต่อการรักษาอาการปวดเรื้อรังของคอ ไหล่ และหลัง การที่เด็กฝึกท่าร่างกายด้วยโดสะโฮไม่เพียงช่วยพัฒนาท่าทางของร่างกาย แต่ยังทำให้อารมณ์นั่นคง สดชื่น และกระตือรือล้น โดสะโฮ เริ่มเป็นที่นิยมกันในการเรียน การสอนของโรงเรียน (อีอิจิมา,1987)
การใช้โดสะโฮในด้าน การปรึกษาแนะนำ เริ่มเป็นที่สังเกต พบ เพราะการที่ผู้ป่วยต้องฝึกควบคุมและบังคับการผ่อนคลายของร่างกาย หรือเคลื่อนไหวด้วยตนเองทำให้ผู้ป่วยต้องแบ่งความสนใจภายในตัวของเขา และเกิดการพูดคุยหรือสื่อสารกับตนเอง ซึ่งการบำบัดด้วยโดสะโฮเป็นการบำบัดทางจิตวิทยาที่ไม่ต้องใช้คำพูด การใช้คำพูดเป็นวิธีการเสริมเท่านั้น
การบำบัดด้วยโดสะ (นารูเซ,1987) ถูกนำไปใช้ในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วและถือเป็นการบำบัดทางจิตวิทยาที่ใหม่และมีความหวังไม่เพียงแต่ผู้ป่วยทางประสาทแต่ยังมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยทาง schizophrenia หรือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (ทสุรุ 1984) ในวงการกีฬา ตั้งแต่ โอลิมปิก ที่โรม จนถึงโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นโดสะโฮได้ถูกนำไปใช้ในการผ่อนคลาย ปลูกใจ และฝึกจิตใจของนักกีฬา
ความหมายของโดสะโฮในจิตวิทยาคลินิก
การนำโดสะโฮมาใช้ในจิตวิทยาคลินิกในระยะแรกๆถูกคาดหวังว่าเป็นแนวทาง วิธีการใหม่อย่างไรก็ตาม โดสะโฮถูกนำมาใช้อย่างเกิดประโยชน์ในทางคลินิก ถึงแม้ว่า แพทย์ ไม่ค่อยให้ความสนใจหรือยอมรับว่าเกิดประโยชน์ เนื่องจากมีความคุ้มเคยกับวิธีการบำบัดด้วยคำพูด แต่ผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้โดสะโฮจอยอมรับว่ามีประโยชน์ แต่ก็ยังลังเลที่จะใช้แทนที่วิธีการบำบัดแบบเดิมเนื่องจากยังไม่กระจ่างชัดว่า โดสะโฮเกิดประโยชน์และมีผลในการรักษาทางคลินิกอย่างไร ดังนั้นผู้เขียนจะพยายามอธิบายเกี่ยวกับลักษณะทางคลินิก และคุณค่าของโดสะโฮ
โดสะโฮเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยได้ตระหนักถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ผู้ป่วยต้องรักษาและควบคุมในขณะเดียวกันโดยทั้งสองอย่างผสมผสาน นั่นคือ การที่เขาได้ทำการเคลื่อนไหวร่างกายของเขาด้วยความต้องการและสะท้อนกลับทำให้เขาได้เรียนรู้ผลการเคลื่อนไหว ในด้านจิตวิทยาคลินิกสิ่งที่สำคัญที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุด คือการเน้นที่ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ป่วย ในการตั้งเป้าหมายการทำโดสะโฮ ซึ่งบางครั้งรู้ตัว (ตั้งใจ) และบางครั้งกึ่งรู้ตัว (ตั้งใจ) หรือไม่รู้ตัวอาจเป็นการเหมาะกว่าถ้ากล่าวว่า กิจกรรมบางส่วนนั้นถูกควบคุม (ตั้งใจ) โดยตัวผู้ป่วย ในขณะที่ส่วนใหญ่ของกิจกรรมทำโดยไม่รู้ตัวโดสะก็เช่นเดียวกัน ผู้ทำไม่รู้ตัว อาจเป็นการเหมาะกว่าถ้ากล่าวว่ากิจกรรมบางส่วนนั้นถูกควบคุม (ตั้งใจ) โดยตัวผู้ป่วยในขณะที่ส่วนใหญ่ของกิจกรรมทำโดยไม่รู้ตัว โดสะก็เช่นเดียงกัน ผู้ทำไม่รู้ตัวแต่ยังตระหนักถึงความตั้งใจในการทำ (นารูเซ,1985)
          เป็นประสบการณ์ปรกติที่การปฏิบัติต่อร่างกายของตนเองเหมือนสิ่งของอย่างหนึ่ง เขาจะเรียนรู้ความจริง (ความรู้สึก) ของการควบคุมบังคับร่างกาย (การเคลื่อนไหวด้วยตนเอง) อย่างไรก็ตามอาจล้มเหลวในการจำแนกความพยายามในการทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างอัตโนมัติเชื่อมโยงกับความตั้งใจ ซึ่งคือ การเคลื่อนไหวด้วยตนเอง บางครั้งอาจจะรู้สึกถึงการที่ร่างกายเหมือนถูกควบคุมด้วยผู้อื่นทั้งๆที่ ร่างกายเคลื่อนไหวด้วยตนเอง เหมือนหุ่นกระบอก
เป้าหมายของโดสะโฮ ในจิตวิทยาคลินิก คือการเปลี่ยนแนวทางของประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและทำให้เกิดอารมณ์ที่มั่นคงกระตือรือล้นและเป็นอิสระ การได้ประสบการณ์ด้วยตนเอง อาจทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดสภาพทางอารมณ์ที่ต้องการ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแนวทางของประสบการณ์เรียนรู้อาจทำให้เกิดอารมณ์ทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งทำให้เกิดอารมณ์ที่ดี มุ่งหวัง มีสุขภาพจิตดี อีกด้านหนึ่งเป็นอารมณ์ที่ผิดหวัง ท้อแท้และเจ็บป่วน วิธีการฝึกผู้ป่วยทุกวิธี อาจมีผลเปลี่ยนแปลงต่อผู้ป่วยในทางไม่ดีทางคลินิก อย่างไรก็ตาม โดสะโฮได้แสดงให้เห็นลักษณะที่ดีในการทำให้ผู้ป่วยเกิดสภาพที่ดีขึ้นโดยปราศจากความกลัวการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ดีการฝึกโดสะ (Dohsa-training) แสดงผลที่ดีมากสำหรับการรักษาความกระวนกระวายใจหรือโรค Psychosomatic อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องแยกแยะประโยชน์ระหว่าง การฝึกโดสะ (Dohsa-training) และการบำบัดด้วยโดสะ (Dohsa-therapy) มีประเภทของการรักษาที่อยู่ระหว่าง การฝึกโดสะโฮและการบำบัดด้วยโดสะ ซึ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาทั้งสองอย่าง ฝึกและบำบัด ในทางการศึกษาพิเศษมีการใช้แนวทางนี้สำหรับเด็กออทิสติก เด็กดาวน์ เด็กตาบอด หูหนวก เป็นต้น และใช้ฝึกเพื่อผ่อนคลาย และฝึกท่าร่างกายสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และเพื่อส่งเสริมสุขภาพสำหรับ ผู้สูงอายุ
โดสะโฮ ได้เริ่มเข้ามาในโลกแห่งจิตวิทยาคลินิกโดยปราศจากประสบการณ์ที่คลินิก และปราศจากทฤษฏีหรือสถาบันที่มีอยู่ ถูกพัฒนาขึ้นด้วยมุมมองใหม่และวิธีคิดแบบใหม่ แต่เป็นที่คาดหวังว่าในอนาคตจะได้รับการพัฒนาเป็นวิชาการที่มีมุมมองและวิธีคิดแบบใหม่ เป็นที่คาดหวังว่าในอนาคตจะพัฒนาเป็นวิชาการที่มีความหวังในทางจิตวิทยาคลินิก ไม่เพียงแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่เผยแพร่ไปทั่วโลก

หนังสือ การฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น
Dohsa-Hou fot disabled children in Japan
แปลโดย นายแพทย์ประพจน์  เภตรากาศ
23 ธันวาคม 2539


ย้อนกลับ