มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

ตัวอย่างสวนบำบัดเพื่อเด็กพิการ

ค่ายห้วยน้ำใส สวนพลังชีวิต
001

            ค่ายห้วยน้ำใส สวนพลังชีวิต โครงการที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) และมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ(มพก.) ร่วมกันจัดทำขึ้นภายในพื้นที่ 11 ไร่ที่อยู่ใกล้เคียงกับค่ายห้วยน้ำใส ตำบลห้วยกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นสถานที่จัดค่ายพักแรม และฝึกอบรมสำหรับกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานของทั้งสององค์กรได้มีการจัดสร้างสถานที่ให้เป็นบ้านไร่บ้านสวน ใช้กิจกรรมด้านการเกษตรรอง

002รับงานฟื้นฟู-พัฒนาเด็กและเยาวชน กลุ่มด้อยโอกาสรวมทั้งเอื้อประโยชน์แก่ครอบครัวสัมพันธ์และแก่ผู้สูงอายุด้วย  โดยคำนึงถึงความสอดคล้อง กับข้อจำกัดทางสภาพร่างกาย และฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ข้าร่วมกิจกรรม เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และจะเป็นรูปแบบกิจกรรมต้นแบบที่คนในชุมชน และผู้สนใจด้านการพัฒนาเด็กจะได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้แนวทางใหม่ในการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาเด็กโครงการสวนพลังชีวิตดำเนินการภายใต้แนวคิดเรื่องสวนบำบัดที่มองว่า การทำกิจกรรมกลางแจ้ง อย่างการทำสวน การได้สัมผัสดิน สัมผัสใบไม้ใบหญ้า ได้ความภูมิใจกับการเจริญงอกงามของพืชพรรณที่ตนเองปลูก ให้ความเพลิดเพลินและเป็นโอกาสให้ได้เคลื่อนไหวข้อต่อได้ออกกำลังกล้ามเนื้อซึ่งเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจแก่ผู้ป่วยและผู้พิการได้อย่างดียิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ผู้คนทั่วไป ที่รวมถึงเด็กและผู้สูงอายุ

นอกจากนี้การทำสวนยังเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวสัมพันธ์ อันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอันดับแรก ในการสร้างคนให้มีคุณภาพ ประกอบเข้ากับข้อเท็จจริงที่ว่าสิ่งแวดล้อมแบบธรรมชาติ อากาศดี มีต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์เลี้ยงเหล่านี้สามารถบำบัดเยียวยาจิตใจที่บาดเจ็บจากความทุกข์ ความเครียด ความกดดันได้มูลนิธิทั้งสองจึงจัดทำโครงการ”สวนพลังชีวิต” ขึ้น

003วัตถุประสงค์

1. สาธิตการจัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมในลักษณะ “สวนบำบัด” สำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดทางกาย และฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กด้อยโอกาส หรือผู้มีปัญหาสุขภาพจิต
2.ให้เกิดความสัมพันธ์และการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมและการแบ่งปันระหว่างเด็กด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ชาวบ้านในพื้นที่รอบๆ โครงการและอาสาสมัคร (นักเรียน นักศึกษาที่มาช่วยงาน)
3.ส่งเสริมหลักการเรื่องความมั่นคงทางอาหารซึ่งกำลังเป็นประเด็นสำคัญสำหรับคุณภาพชีวิตนั่นคืออาหารต้องปลอดพิษภัย มีความหลากหลาย ปริมาณเพียงพอสำหรับทุกคน
4. ส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยหลักการเกษตรธรรมชาติ

 

กิจกรรม

1. สวนบำบัดใช้พื้นที่ 3 ไร่ สำหรับปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ผักสวนครัวโดยจัดเตรียมเป็นพิเศษ มีทางปูนซิเมนต์ที่ผู้พิการหรือผู้สูงอายุสามารถนั่งเก้าอี้ล้อเข็นไปทำสวนได้ทั่ว เครื่องมือทำสวนเป็นชนิดที่ดัดแปลงให้ใช้สะดวกสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดทางร่างกายทั้งอาจต้องเพิ่มเติมอุปกรณ์ช่วยการทรงตัวบางอย่างด้วย สวนที่ทำจะเป็นลักษณะสวนแขวน สวนผนัง สวนลอย (ยกพื้น)
2.สวนเกษตรธรรมชาติใช้พื้นที่ 8 ไร่ สำหรับปลูกสมุนไพร ผักพื้นบ้าน ไม้ผลและพืชไร่ทำบ่อเลี้ยงปลา โรงเพาะเห็ด มีการเลี้ยงไก่ เป็ด ห่านและสัตว์อื่นๆโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ใช้สารเคมี กิจกรรมสวนเกษตรธรรมชาติ จะเป็นทั้งเครื่องช่วยฟื้นฟูสุขภาพกาย สุขภาพจิต และเป็นตัวอย่างการผลิตอาหารในพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อให้มีอาหารที่ปลอดภัยไม่ทำลายสุขภาพ อีกทั้งเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารในยามที่จำเป็นต้องพึ่งตนเอง
3.กิจกรรมบำบัดในแขนงต่างๆคหกรรม หัตถกรรม ศิลปะ ดนตรี การละเล่น การนวด โยคะ ฝึกสมาธิภาวนา กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมประกอบซึ่งจัดแทรกไว้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศและได้ความรู้หลากหลาย
4.กิจกรรมวารีบำบัดสร้างสระน้ำ 2 สระสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เพื่อ ให้น้ำช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ พัฒนากล้ามเนื้อของเด็กพิการและยังช่วยคลายความเครียดให้กับกลุ่ม


สวนในโรงเรียนลูคัสการ์เด้น
Gardens at Lucas Gardens School

โรงเรียนลูคัสการ์เด้น (Lucas Gardens) เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อยู่ที่รัฐนิวเซาท์เวล ประเทศออสเตรเลีย  ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านประสาทสัมผัส และเด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อน (Severtsen. 2010)

004สวนแห่งสัมผัส (Sensory Garden)
โรงเรียนลูคัสการ์เด้นแห่งนี้มีการออกแบบสวนซึ่งนำหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) มาปรับในการออกแบบสวน เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างปลอกภัย เพราะเด็กสวนใหญ่ที่เรียนในโรงเรียนแห่งนี้ จะนั่งบนรถเข็น ดังนั้นการออกแบบให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ถือเป็นสิ่งสำคัญ บริเวณสวนที่เรียกว่า”สวนแห่งสัมผัส” (Sensory Garden) เป็นบริเวณที่ออกแบบและจัดให้มีมุมต่างๆ หรือที่เรียกว่า สถานีกิจกรรม (Activity Stations) สถานีกิจกรรมเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กๆ ผ่านการทดลอง และได้ลงมือทำเป็นประสบการณ์ตรง เช่น มีบ่อน้ำที่ยกระดับขึ้นและใส่น้ำให้เต็มในระดับเดียวกันกับที่เด็กสามารถจะเล่นได้ เด็กบางคนอาจจะเอาของเล่นมาปล่อยในบ่อน้ำ หรือบางคนอาจจะเอามือกวักน้ำเล่น    มีมุมสำหรับจัดดนตรีบำบัด มีบ้านต้นไม้ ที่สามารถใช้ประโยชน์ ในการฝึกหรือการบำบัดต่างๆ  และบริเวณรอบๆ  สวนแห่งสัมผัส  มีการเลือกปลูกพืชพรรณ ต้นไม้ และดอกไม้อย่างหลากหลาย ที่ช่วยกระตุ้นความรู้สึกในแง่สีสัน กลิ่นหอม เสียง ผิวสัมผัส  รวมทั้งการดึงดูดสัตว์ต่างๆ เช่น นก แมลง ผีเสื้อให้เข้ามาในพื้นที่จะทำให้เกิดความรู้สึกถึงวงจรธรรมชาติที่สมบูรณ์

นอกจากนี้สวนแห่งสัมผัส เป็นสถานที่ที่ครูสามารถใช้ในการสอนนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, การอ่านการเขียนและการรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ครูบรรณารักษ์เอง ก็มักจะใช้บริเวณสวน ในการเล่านิทานให้เด็กๆ ฟัง ฟังเพลง และทำกิจกรรมร่วมกัน และสวนแห่งสัมผัส ยังถูกนำมาใช้สำหรับกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ซึ่งทำให้เด็กสนุกสนาน    เพลินเพลินและผ่อนคลาย

cta

 

โรงเรียนลูคัสการ์เด้น ถือเป็นสถานที่ต้นแบบในการใช้สวนบำบัดเพื่อเป็นกิจกรรมในการฟื้นฟู  และพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สามารถฟื้นฟูและพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสจะได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับต้นไม้ สวน และธรรมชาติรอบตัว อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เด็กพิการได้สัมผัสกับธรรมชาติ นอกจากนี้สวนบำบัดแห่งนี้ยังสามารถบูรณาการกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์ในการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส เช่น กิจกรรมบำบัด ศิลปะบำบัด พลบำบัด ดนตรีบำบัด การเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อ้างอิง

 

 ประพจน์ เภตรากาศ.  (2547).  การออบแบบสวนบำบัด.  นิตยสารหมอชาวบ้าน กุมภาพันธ์ สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2558, จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/1805.

ประภาพร ธาราสายทอง.  (2546).  ภูมิทัศน์เพื่อการบำบัดจิตใจ. ปริญญานิพนธ์ สถ.ม. (ภูมิสถาปัตยกรรม).  กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2556) ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมและการป้องกัน (ตอนที่ 1). สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2558, จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/department/preventive/dept_article_detail.asp?

ศรียา นิยมธรรม. (2555).  ศาสตร์แห่งการบำบัดทางเลือก. กรุงเทพฯ: ไอ.คิว. บุ๊คเซ็นเตอร์

เอื้อมพร วีสมหมาย. (2533). สวนสำหรับเด็ก (Children’s Play Spaces). กรุงเทพฯ: สารมวลชน

American Horticultural Therapy Association. (2012). American Horticultural Therapy Association Definitions and Positions. Retrieved February 1, 2015, from https://ahta.org/sites/default/files/DefinitionsandPositions.pdf

Brown, Sydney P.; et al. (2004). Horticultural Therapy.  Series of the Environmental Horticulture Department. Retrieved February 1, 2015, from https://edis.ifas.ufl.edu.

 Detweiler, Mark B.; et al. (2012, June). What Is the Evidence to Support the Use of Therapeutic Gardens for the Elderly?. Psychiatry Investig. 9(2): 100–110.Retrieved February 12, 2015, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3372556/pdf/pi-9-100.pdf

Erickson, Susan. (2012, June). Restorative Garden Design: Enhancing Wellness through  Spaces.  Art and Design Discourse. (2): 89-102  Retrieved February 22, 2015, from https://www.extension.iastate.edu/communities/sites/www.extension.iastate.edu/files
/communities/05RESTORATIVE_GARDEN_DESIGN_Enhancing_wellness_through_healing_spaces.pdf

Fisher,  Roy. (2004). Jacqueline Fiske Healing Garden, Jupiter Medical Center JUPITER, FL

Retrieved February 20, 2015, from https://www.healthcaredesignmagazine.com/article/jacqueline-fiske-healing-garden-jupiter-medical-center-jupiter-fl

Fleming, Lesley. (2014).  Healing Garden for Cancer Patients. A Quarterly Publication of the American Horticultural Association. 41(2): 13-15. Retrieved February 20, 2015, from

https://ahta.org/sites/default/files/HealingGardensforCancerPopulations.pdfFranklin, Deborah. (2012). How Hospital Gardens Help Patients Heal. Scientific American. 306(3).  Retrieved February 1, 2015, from https://www.scientificamerican.com/article/nature-that-nurtures/

Friends Hospital (2005). Healing with Plants: The Wonders of Horticultural Therapy. Retrieved February 5, 2015 from https://www.friendshospitalonline.org/History.htm

Hebert, Bonnie B. (2003). Design Guidelines of a Therapeutic Garden for Autistic Children.

Retrieved February 20, 2015, from https://etd.lsu.edu/docs/available/etd-0127103-211300/unrestricted/Hebert_thesis.pdf

Kaplan, R. (2001). The Nature of the View from Home: Psychological Benefits. Environment and Behavior. 33 (4): 507-542.

Kaplan, S. (1995). The Restorative Benefits of Nature: Toward an Integrative Framework. Journal of Environmental Psychology, 15:169-182.

Komiske, Bruce K. (2005).  Children’s Hospitals The Future of Healing environments. Austrslia: Image Publishing Group.Kreitzer, Mary J. (2015). What Are Healing Gardens? Retrieved February 20, 2015, from https://www.takingcharge.csh.umn.edu/explore-healing-practices/healing-environment/what-are-healing-gardens

Larson, Jean M.  (2009).  Landscapes with Healing in Mind. Retrieved February 1, 2015, from https://blog.lib.umn.edu/efans/ygnews/2009/01/landscapes-with-healing-in-min.html

Marcus, Clare Cooper. (2015).  Landscape Design: Patient-specific Healing Gardens.

Retrieved February 15, 2015, from https://www.worldhealthdesign.com/patient-specific-healing-gardens.aspx

Marcus, Clare Cooper. (2005). Healing Garden in Hospital. Retrieved February 20, 2015, from

https://www.umcg.nl/SiteCollectionDocuments/UMCG/C1_Cooper_Marcus.ppt.pdf

Mitrione, Steve;& Larson, Jean. (2007). Healing by Design: Healing Gardens and Therapeutic Landscapes. A Newsletter by InformeDesign. 2(10):1-7.Retrieved February 28, 2015, from https://www.informedesign.org/_news/nov_v02.pdf

Potter,  Jennifer.  (2006, November). Gardens for Healing – a Personal View of Recent Initiatives in Greening the Hospital Environment. Retrieved February 12, 2015, from

https://planningexchangefoundation.org.uk/reports/Gardens

Ross, Kristin. (2013).  Barrier-Free Community Gardening in Waterloo Region. Retrieved February 25, 2015, from https://www.together4health.ca/files/BarrierFreeGardens_Guide.pdf

Severtsen, Betsy. (2010).  Healing Gardens. Retrieved February 17, 2015, from https://depts.washington.edu/open2100/pdf/2_OpenSpaceTypes/Open_Space_Types/healing_gardens.pdf

Sieradzki, S. (2013). Enabling Solutions for Specific Health Conditions. AHTA News Magazine 41(2) 18-19.

Söderback, I.; et al. (2004, October- December). Horticultural Therapy: the ‘Healing Garden’ and Gardening in Rehabilitation Measures at Danderyd Hospital Rehabilitation Clinic, Sweden. Pediatr Rehabil. 7(4):245-60.Retrieved February 28, 2015, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15513768

Tyson, Martha M. (1998). The Healing Landscape. New York: McGraw-Hill.

Ulrich, R. (1999). Effects of Gardens on Health Outcomes: Theory and Research. In C. C. Marcus & M. Barnes (Eds.), Healing gardens (pp. 27-86). New York: Wiley.

Wilson,  Beverly Jean. (2006).  Sensory Gardens for Children with Autism Spectrum Disorders. Thesis in (Landscape Architecture).Arizona: University of Arizona.  from ProQuest Dissertations and Theses database.


ย้อนกลับ