มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

โครงการนวดไทย

ความเป็นมาของการใช้นวดไทยเพื่อฟื้นฟูเด็กพิการ

สืบเนื่องจาก อ.ประทิน ทรัพย์บุญมี ครูหมอนวดไทย ภายใต้สังกัดมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาได้เข้าร่วมอบรมการฝึกการเคลื่อนไหวแบบญี่ปุ่นหรือโดสะโฮเมื่อวันที่  17  สิงหาคม- 23  สิงหาคม  2543   ร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ และจากประสบการณ์การได้สัมผัสกับสภาพปัญหาอาการเกร็งของเด็กสมองพิการ จึงมีแนวคิดว่าความรู้เรื่องการนวดแผนไทยน่าจะสามารถแก้ปัญหาอาการเกร็งของเด็กและปัญหาเรื่องการขับถ่ายได้ หลังจากนั้นจึงได้ปรึกษากับทีมเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการเรื่องการนำการนวดแผนไทยมานวดเพื่อช่วยแก้ปัญหาอาการปวดเมื่อยกับบุคลากรในองค์กรก่อน หลังจากนั้นมีการประเมินผลหลังการนวด 80% ของผู้ถูกนวดให้ความเห็นว่าอาการปวดเมื่อยลดลง สบายตัวมากขึ้น และรู้สึกผ่อนคลาย

ในระยะต่อมา เมื่อปีพุทธศักราช 2545 มูลนิธิเพื่อเด็กพิการร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ ได้จัดให้มีการศึกษาวิจัยเรื่องการนวดไทยกับเด็กพิการ จำนวน 14 ราย เป็นระยะเวลา  3 เดือน  เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 –  เดือน  มกราคม 2546   และหลังจากนั้นได้จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำการนวดไทยมาใช้ในการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อในเด็กสมองพิการจำนวน 14 ราย   เมื่อ  วันที่ 6  พฤษภาคม  2546  ณ  สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ ( สยช. )โดยมีนักวิชาชีพทางด้านต่างๆ เข้าร่วมสัมมนา แลกเปลี่ยน  อาทิ  นักกายภาพบำบัด  นักกิจกรรมบำบัด  หมอพัฒนาการเด็ก  และแพทย์เฉพาะทางด้านเด็ก

ซึ่งผลจากการวิจัยในครั้งนั้นได้ผลคือ เด็กที่มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อ มีอาการเกร็งลดลง กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น ระบบขับถ่ายของเด็กดีขึ้น เช่น ขับถ่ายง่าย ท้องผูกน้อยลง ลดการใช้ยาช่วยขับถ่าย เช่น ยาสวน หรือยาระบายต่างๆ  และยังพบว่าเด็กที่มีอาการเกร็ง สามารถจัดปรับท่าทางต่างๆได้ง่ายขึ้น นอนหลับนานขึ้น

จากความสำเร็จนี้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการและมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาได้พัฒนาองค์ความรู้และจัดทำเป็นคู่มือการนวดไทยกับเด็กพิการและจัดพิมพ์เมื่อ  ตุลาคม 2546  เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้องเหมาะกับสภาพความพิการของเด็กแต่ละราย และได้มีการฝึกอบรมพ่อแม่เรื่องการใช้นวดไทยเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางด้านร่างกายโดยเฉพาะกลุ่มเด็กสมองพิการ ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดให้มีการอบรม ปีละ 1-2 รุ่น รุ่นละ 10-15 ครอบครัว

อย่างไรก็ตาม เด็กสมองพิการยังมีอีกเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่อยู่ในชนบท ครอบครัวของเด็กพิการไม่สามารถเข้ารับการอบรมได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ได้เล็งเห็นความสำคัญของหมอนวดพื้นบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ชนบททั่วไปซึ่งมีองค์ความรู้เรื่องการนวดไทยเป็นอย่างดี

ต่อมาจึงได้จัดทำโครงการอบรมหมอนวดไทยและหมอนวดพื้นบ้านเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการในชนบทและเพื่อให้สามารถเป็นครูสอนพ่อแม่และครอบครัวเด็กสมองพิการให้สามารถใช้นวดไทยเพื่อฟื้นฟูเด็กสมองพิการได้ด้วยตนเอง

อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวเด็กพิการและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยการใช้ภูมิปัญญาไทยด้านการนวดไทยเพื่อดูแลคนในพื้นที่สืบไป

โดยมูลนิธิเพื่อเด็กพิการได้จัดอบรมหมอนวดไทยและหมอนวดพื้นบ้าน ในปีพุทธศักราช 2550 จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 20 คน โดยมีหมอนวดจาก 4 ภูมิภาค เข้าร่วม จำนวน 40 คน

รุ่นที่ 1 วันที่ 5-9 มีนาคม 2550

รุ่นที่ 2 วันที่ 21-25 พฤษภาคม 2550

โดยผลจากการอบรมหมอนวดไทยและหมอนวดพื้นบ้านได้ผลดังนี้

  1. ได้เรียนรู้เรื่องความพิการ สาเหตุ ประเภท ลักษณะ อาการของเด็กพิการกลุ่มต่างๆมากขึ้น ซึ่งไม่เคยรู้ ไม่เคยสัมผัสมาก่อน
  2. ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับ นิสัย อารมณ์ ของเด็กพิการแต่ละราย ที่แสดงออก ในลักษณะท่าทางที่แตกต่างกัน
  3. มีความเข้าใจและสังเกตเห็นความอดทนของผู้ปกครองเด็กสมองพิการ
  4. เห็นช่องทางการช่วยเหลือครอบครัวเด็กพิการในแต่ละพื้นที่ ที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
  5. สามาถนำความรู้ไปขยายผลได้จริง และยังเป็นการช่วยเหลือครอบครัวเด็กพิการที่ด้อยโอกาสในการเข้าถึงการฟื้นฟู

ในระยะเวลาต่อมา เมื่อปีพุทธศักราช 2552 มูลนิธิเพื่อเด็กพิการได้จัดโครงการอบรมผู้ปกครองและบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง ให้มีองค์ความรู้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพความสามารถด้านการนวดไทย เพื่อให้สามารถฟื้นฟูศักยภาพเด็กพิการได้ยั่งยืนและยังสามารถถ่ายทอดความรู้ทักษะให้กับผู้ปกครองรายใหม่ได้และเพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญให้มากยิ่งขึ้น จึงได้มีโครงการพัฒนาผู้ปกครองให้เป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ภายใต้โครงการอบรมผู้ช่วยแพทย์แผนไทย หลักสูตร 330 ชั่วโมง ขึ้นเมื่อวันที่  27 เมษายน ถึง วันที่  17 กรกฎาคม      พ.ศ.2552

โดยแบ่งออกเป็น 6  ช่วงการอบรม

ระยะที่ 1   วันที่ 27 เมษายน – 5 พฤษภาคม

ระยะที่ 2  วันที่  18- 26  พฤษภาคม

ระยะที่ 3  วันที่  8 – 10  มิถุนายน

ระยะที่ 4   วันที่  29 มิถุนายน –  7  กรกฎาคม

ระยะที่ 5    วันที่   15-17   กรกฎาคม

ระยะที่  6   ทำรายงานผลการนวดจำนวน  35  ราย /  1 คน

 

โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 18 คน

แบ่งเป็นผู้ปกครอง   จำนวน 10 คน   เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จำนวน 5 คน

อาสาสมัครผู้เกี่ยวข้อง 3 คน

ผลจากการอบรม

– ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ทักษะ ความชำนาญ ในการใช้นวดไทยเพื่อดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น สามารถนวด

เพื่อดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว /  ผู้อื่นได้อย่างเป็นจริง

–  สามารถแนะนำผู้อื่นในการใช้นวดเพื่อดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้จริง เช่น นวดแก้ปวดเมื่อย หรืออาการปวดอื่นๆ

–   ผู้เข้าอบรมบางรายสามารถนวดเพื่อหารายได้เสริมหลังการดูแลบุตรหลานที่พิการ เช่นนวดแก้อาการปวดเมื่อย  นวดฝ่าเท้า

สถิติเด็กและผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมนวดไทยเพื่อฟื้นฟูเด็กพิการ

ปี  2549 –  2553  ณ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

 

สถิติเด็กและผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมนวดไทยเพื่อฟื้นฟูเด็กพิการ

ปี  2549 –  2553  ณ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

ปี 2549  จำนวน  52  ครอบครัว

ปี 2551  จำนวน  17 ครอบครัว

ปี 2552 จำนวน  22  ครอบครัว

ปี 2553 จำนวน 16 ครอบครัว

 

 

อบรมหมอนวดไทยและหมอนวดพื้นบ้านเพื่อใช้นวดไทยกับเด็กพิการ

ปี 2550  จำนวน  20 คน

อบรมผู้ช่วยแพทย์แผนไทย  330  ชั่วโมง

ปี 2552  จำนวน  18  คน

 

หลักสูตร นวดไทยเพื่อเด็กพิการ

ระยะเวลาในการจัดอบรม 5


หลักสูตรอบรมหมอนวดไทยและหมอนวดพื้นบ้าน ระยะเวลา 5 วัน

หลักสูตร ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง

ทฤษฎี       ชั่วโมง      ปฏิบัติ        ชั่วโมง

การทำรายงาน case 35 ราย / คน

 

ประโยชน์ของการนวด ต่อเด็ก

  1. 80% ของผู้ที่ได้รับการนวดต่อเนื่อง อาการเกร็งลดลง
  2. สามารถจัดท่าทางต่างๆได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดท่านอน ท่านั่ง การควบคุมการทรงตัวต่างๆ
  3. ระบบขับถ่ายดีขึ้น ใช้ยาช่วยน้อยลง
  4. พักผ่อนเป็นเวลานานขึ้น หลับง่าย
  5. อารมณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางบวก ( อารมณ์ดีขึ้น ยอมรับการนวดมากขึ้น )

ข้อจำกัด

เด็กที่มีความพิการรุนแรงต้องใช้ระยะเวลาในการนวดนานจึงมีการเปลี่ยนแปลง

ผลต่อผู้ปกครอง / ครูหมอนวดพื้นบ้าน

  1. มีความหวัง มีกำลังใจ ในการฟื้นฟูบุตรหลานพิการต่อไปเนื่องจากเห็นผลการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น ซ้ำยังเป็นศาสตร์ที่ไม่ต้องลงทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องช่วยที่มีราคาแพง สามารถแนะนำให้บุคคลในครอบครัวนวดเพื่อดูแลสุขภาพซึ่งกันและกันได้
  2. เข้าใจวิธีการนวดมากขึ้น และมั่นใจ สามารถนำกลับไปนวดและแนะนำคนในครอบครัวให้ช่วยกันดูแลบุตรหลานพิการด้วยตนเองต่อไปได้
  3. สามารถให้คำแนะนำผู้ปกครองรายใหม่ที่มีบุตรหลานที่ความพิการและสภาพปัญหาใกล้เคียงกันได้อย่างมั่นใจ
  4. .เกิดเครือข่ายครูหมอนวดไทยในพื้นที่ชนบทตามภูมิภาคต่างๆในการแนะนำให้ความรู้เรื่องการนวดไทยกับคนในพื้นที่ได้อย่างเป็นจริงและยั่งยืน

หลักสูตรที่ได้ผ่านการรับรอง  มี จำนวน 3 หลักสูตร

  1. หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ (150 ชั่วโมง)
  2. หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
  3. หลักสูตรแพทย์แผนไทยหมายเหตุ
    มูลนิธิเพื่อเด็กพิการให้บริการโดยไม่คิดค่าไช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
    หากมีผู้สนใจการฟื้นฟูข้างต้น สามารถติดต่อรับบริการ หรือ ขอคำปรึกษาได้ที่โทร.02-5392916,02-5399958  

    ช่องทางการบริจาคเงิน

    ชื่อบัญชีมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ สยามสแควร์สาขา ประเภทบัญชี เลขที่บัญชี
    ธนาคารกรุงเทพ ลาดพร้าว 44 ออมทรัพย์ 203-0-18163-6
    ธนาคารกรุงไทย สยามสแควร์ ออมทรัพย์ 052-1-16511 -3
    ธนาคารกสิกรไทย สยามสแควร์ ออมทรัพย์ 026-2-49994-4
    ธนาคารไทยพาณิชย์ ลาดพร้าว 59 ออมทรัพย์ 038-2-61551-3
    ธนาคารไทยพาณิชย์ (โครงการอาคารเพื่อเด็กพิการ) ลาดพร้าว 59 ออมทรัพย์ 038-4-43150-9
    ธนาคารไทยพาณิชย์ (กองทุนเพื่อเด็กพิการใน
    อุปถัมภ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
    ลาดพร้าว 59 ออมทรัพย์ 010-4-33969-4
    ธนาคารยูโอบี  สยามสแควร์ ออมทรัพย์ 772-160-008-8
     ธนาคารทหารไทยธนชาต  โชคชัย 4 ออมทรัพย์ 036-2-789-471
    ธนาคารออมสิน ยุติธรรม เผื่อเรียก 051-0901-7295-1
    ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  จตุจักร  ออมทรัพย์  058-2-29583-0
    บริจาคเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา
     บริจาคเงินผ่านแอปพลิเคชัน shopeepay
    บริจาคเงินผ่านเคาน์เตอร์บิ๊กซี, บิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า, และมินิบิ๊กซี
     บริจาคผ่าน QR code E-donation

ย้อนกลับ