มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

สธ. เปิดงานคนไทยไม่ทอดทิ้งกันฯ

สธ. เปิดงาน“คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน คนพิการขาขาดทุกคนได้รับขาเทียม 100%”

กระทรวงสาธารณสุข ช่วยผู้พิการเข้าถึงบริการ เปิดโครงการคนไทยไม่ทอดทิ้งกัน คนพิการขาขาดทุกคนได้รับขาเทียม 100% ช่วยผู้พิการแขนขาขาดทั้งรายเก่าและรายใหม่ 50,000 รายเข้าถึงบริการ ได้รับกายอุปกรณ์เสริมและเทียม อุปกรณ์เครื่องช่วยที่จำเป็น ส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วันที่ (26 ก.ย.2559) ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จ.นนทบุรี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดงาน “คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน คนพิการขาขาดทุกคนได้รับขาเทียม 100%” และให้สัมภาษณ์ว่า จำนวนคนพิการในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ และสูงวัย โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2558 พบมีคนพิการร้อยละ 2.52 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 2 ล้านกว่าราย และขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการ 1,918,867 ราย พิการขาขาดประมาณ 50,000 ราย ซึ่งข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีคนที่ต้องถูกตัดขาเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3,500 ราย และคาดว่ามีคนพิการจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการ จากข้อจำกัดเช่น ราคาอุปกรณ์ที่ค่อนข้างสูง หรือการเดินทางลำบาก

2016-09-27-186-0-59-09-27-1

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ มี “พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556” เพื่อให้ผู้พิการได้รับสิทธิ โอกาส การคุ้มครองจากรัฐ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลือจากรัฐ ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข มอบให้กรมการแพทย์เป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการ ให้เข้าถึงบริการสุขภาพได้โดยไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะในเรื่องกายอุปกรณ์ที่ช่วยให้ดำเนินกิจวัตรประจำวันได้สะดวก หรือเพิ่มคุณภาพชีวิต ได้มอบให้สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติให้บริการทั้งแบบตั้งรับในหน่วยบริการ และออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ตาม “โครงการมอบแขนขาเทียมให้คนพิการทั่วประเทศ” และ “โครงการคนไทยไม่ทอดทิ้งกันคนพิการขาขาดทุกคนได้รับขาเทียม 100%” เพื่อให้คนพิการแขนขาขาดทั้งรายเก่าและรายใหม่สามารถเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับกายอุปกรณ์เสริมและเทียม อุปกรณ์เครื่องช่วยที่จำเป็นที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนพิการแขนขาขาดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผลการดำเนินการระหว่างปี 2557-2559 สามารถให้บริการคนพิการทางการเคลื่อนไหว 7,795 ราย เป็นบริการทำแขนขาเทียม 3,078 ราย ซ่อมแซมแขนขาเทียม 1,176 ราย บริการด้านอื่นๆ เช่น รถนั่งคนพิการ รถสามล้อโยก อุปกรณ์ช่วยเดิน 3,541 ราย นอกจากนี้ได้มอบรถผลิตแขน-ขาเทียม 1 คัน ให้โรงพยาบาลพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก โดยมีรถผลิตแขน-ขาเทียม 2 คัน ออกหน่วยเคลื่อนที่ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวทั่วประเทศ 63 ครั้ง โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชนกว่า 200 แห่ง

 

2016-09-27-437-0-59-09-27-2สำหรับโครงการคนไทยไม่ทอดทิ้งกันฯ ให้บริการระหว่างวันที่ 11-26 เดือนกันยายน 2559 มีกิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย การตรวจประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการสำหรับคนพิการขาขาด การผลิตและซ่อมแซมขาเทียม การฝึกสอนการใช้ขาเทียมพร้อมแนะนำการดูแลรักษาขาเทียมให้แก่คนพิการและญาติการมอบอุปกรณ์เครื่องช่วยการเดินแก่คนพิการขาขาดในรายที่เหมาะสม เช่น รถเข็น ไม้ค้ำยัน เป็นต้น มีผู้พิการลงทะเบียนเข้ารับบริการเกือบ 200 ราย

ขอบคุณhttps://www.thansettakij.com/2016/09/26/101026


ย้อนกลับ