มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

วันนี้ คุณกินดีแล้วหรือยัง?

thaihealth_c_chinqtuy6789เรื่องโดย อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์ team content www.thaihealth.or.th
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือคุณกินดีแล้วหรือยัง    สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.
การมีสุขภาพที่ดี ต้องมีการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการกินอาหารที่ครบ 5 หมู่ และมีประโยชน์กับร่างกายด้วย ด้วยการกินอาหารในสไตล์ของคนไทย ยังคงติดรสชาติ หวาน มัน เค็ม หรือเรียกว่ารสจัดนั่นเอง จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่นำมาซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และอาการป่วยต่างๆ ทีมเว็บไซต์ สสส. จึงขอนำเสนอ 9 เคล็ดลับสุขภาพ การกินดี ที่ทำให้คุณสำรวจตัวเองว่า วันนี้ คุณกินดีแล้วหรือยัง?

9 โภชนบัญญัติ ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง และปราศจากโรคภัย

1.ทานอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ควบคู่กับการดูแลเรื่องน้ำหนักตัว เพราะในอาหารแต่ละชนิดมีสารอาหาร และคุณค่าที่แตกต่างกัน ฉะนั้นจึงต้องกินอาหารที่หลากหลายให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
12371463 - beautiful woman cooking something in the kitchen

สูตรกินอาหารครบ 5 หมู่ มีดังนี้
ข้าว วันละ 8-12 ทัพพีเนื้อสัตว์วันละ 6-12 ช้อนกินข้าววันนี้ คุณกินดีแล้วหรือยัง? thaihealth
ผัก วันละ 4-6 ทัพพี
นม วันละ 1-2 แก้ว
ผลไม้ วันละ 3-5 ส่วน
น้ำตาล ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา
น้ำมัน ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา
เกลือ ไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา

2.กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ ควรเลือกกินข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือแทนข้าวขัดสี เพราะข้าวกล้องมีวิตามินบี1 มากกว่าถึง 10 เท่า และมีใยอาหารมากกว่า 3 เท่า

3.กินผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ วันละ 400 กรัมองค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ว่า ควรกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม โดยให้มีผัก 3 ส่วน ผลไม้ 2 ส่วน เลือกกินให้หลากหลาย ทั้งชนิดและสี เพราะจะทำให้เราได้รับสารอาหารที่เพียงพอและห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้องรังด้วย (NCDs)ผักผลไม้นอกจากจะมีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหารแล้ว ยังมีสารแคโรทีน และวิตามินซี ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งบางประเภทได้
thaihealth_c_aghijqryz239

คล็ดลับกินผักให้ได้สัดส่วน

1.เราควรกินผักให้ได้วันละ 4-6 ทัพพี แต่หากเป็นผักดิบที่เป็นใบ จะต้องเพิ่มเป็น 2 เท่าของผักสุก
2.ส่วนผักดิบที่เป็นหัว เช่น มะเขือเปราะ จะใช้ปริมาณเดียวกันกับผักสุก
3.ถ้าเป็นแตงกวา มะเขือเทศ 1 ทัพพีจะเท่ากับแตงกวาดิบ 2 ผล หรือมะเขือเทศ 2 ผล

ปริมาณบริโภค 1 ส่วน
แอปเปิล เท่ากับ 1 ผล
ส้มเขียวหวาน เท่ากับ 2 ผลกลาง
มังคุด เท่ากับ 4 ผลชมพู่ เท่ากับ 2 ผลใหญ่
กล้วยน้ำว้า เท่ากับ 1 ผลกลาง
มะละกอสุก เท่ากับ 6 ชิ้นพอคำ

4.กินปลา กินเนื้อไร้มัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดีไขมันต่ำ การกินปลาเป็นประจำช่วยลดไขมันในเลือด ในปลาทะเลทุกชนิดมีสารไอโอดีน ที่ช่วยป้องกันคอพอก ส่วนปลาตัวเล็กๆ อุดมไปด้วยแคลเซียมที่ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงสำหรับเนื้อสัตว์ที่เป็นโปรตีน ควรเลือกแบบไม่ติดมัน เพื่อลดการสะสมไขมันในเส้นเลือด และควรรับโปรตีนจากไข่ และวันนี้ คุณกินดีแล้วหรือยัง? thaihealthถั่วเมล็ดแห้ง ที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย

54514934 - selection of healthy fat sources, copy space

5.ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัยนมเป็นอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากมีโปรตีน วิตามินบี2 และแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย หรือขาดมันเนย

6.กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควรไขมันมีประโยชน์กับร่างกายในเรื่องของการให้พลังงาน และให้ความอบอุ่น และช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี เค แต่ไม่ควรกินไขมันมากจนเกินไป เพราะจะทำให้สะสมและอุดตันในหลอดเลือด และเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้องรังตามมา

เคล็ดลับหลีกเลี่ยงไขมัน

1.เปลี่ยนจากอาหารทอด ผัด มาเป็นต้มหรือนึ่ง
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเผาผลาญไขมันส่วนเกิน
3.กินอาหารที่มีกากใยสูงร่วม เพราะจะช่วยขัดขวางการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกายวันนี้ คุณกินดีแล้วหรือยัง? thaihealth
4.ไม่กินอาหารแต่ละมื้อจำเจ เลือกกินอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายไม่เก็บของเดิมสะสมไว้มากจนล้น
5.เลือกใช้น้ำมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันจากพืช เป็นต้น
6.เลี่ยงอาหารที่ทำจากไขมันทรานส์
7.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด

กินหวานจัด : ถ้ากินหวานมากเกินไปมีผลทำให้เกิดโรคเบาหวาน รวมถึงสารพัดโรคที่ตามมาจากน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก เช่น โรคหัวใจ โรความดัน โรคหลอดเลือดสมองกินเค็มจัด : โซเดียม เป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายมาก มีหน้าที่รักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย ทำให้การถ่ายเทน้ำที่อยู่ในเลือด น้ำเหลือง น้ำย่อยเป็นปกติ แต่หากร่างกายรับโซเดียมมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ เพราะฉะนั้นพยายามลด เลิก การปรุงอาหารให้เค็มจนเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป และควรปรุงอาหารกินเอง

34245331 - a large stock pot on a stove with vegetables cut for making soup

8.กินอาหารสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อนอาหารปนเปื้อนคือ อาหารที่มีเชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพยาธิ หรือสารเคมี ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ และโรคระบบทางเดินอาหาร ควรเลือกอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารทุกครั้ง

9.งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ไม่ได้เป็นผลดีกับร่างกายเลย และส่งผลให้โรคต่างๆ ตามมามากมาย เช่น โรคตับแข็งแผลในกระเพาะ อาหารและลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร ความดันโลหิตสูง และยังเป็นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ และเสียชีวิตโภชนบัญญัติ 9 ประการนี้ เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้ควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ ควรออกกำลังอย่างน้อยวันละ 30 นาที อาทิตย์ละ 5 วัน โดยในผู้ใหญ่จะสามารถลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ค่ะ

ที่มา: https://www.thaihealth.or.th/Content


ย้อนกลับ