มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

บ้าน: พื้นที่ฟื้นฟูเด็กพิการ

บ้าน: พื้นที่ฟื้นฟูเด็กพิการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พร้อมบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษ จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการอบรม “การดูแลเด็กที่มีความพิการรุนแรง” ได้ขอใช้สถานที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ และขอความร่วมมือผู้ปกครองนำเด็กพิการเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการดูแลเด็กที่มีความพิการรุนแรง โดย วิทยากรจาก Interaid,Inc, Fr.Adam B Gudalefsky,icm ผู้มีประสบการณ์ฝึกอบรมการดูแลเด็กพิการมายาวนาน บรรยายถึง การฟื้นฟูและพัฒนาเด็ก จุดยืนของราต้องไม่พึ่งพาสถาบันหรือนักวิชาชีพมากเกินไป พ่อแม่ควรเป็นคนฟื้นฟูลูกด้วยตนเอง โดยใช้อุปกรณ์ต้นทุนต่ำ ที่มีอยู่รอบตัว ไม่ต้องซื้อ ไม่เสียเงินค่าเดินทางไปฟื้นฟู การฟื้นฟูเด็กพิการ เราต้องตระหนักในใจเสมอว่า เด็กพิการเป็นคนปกติ ที่สมองวิ่งช้าเพียงบางส่วน เขามีร่างกายเหมือนคนในโลกนี้ มีทุกอย่างเหมือนเรา เพียงแต่มีข้อจำกัดบางด้านที่เป็นปัญหาหนักไม่สามารถแก้ได้โดยง่าย วิธีดูแลเด็กพิการมีหลายวิธี การออกกำลังกายหรือการเล่น สามารถบริหารเด็กพิการได้ดี คนที่ทำได้ดีสุดคือ พ่อแม่ เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะสามารถดูแลบุคคลบกพร่องเองที่บ้าน และประยุกต์เนื้อหาดูแลผู้บกพร่องด้านร่างกาย ปัญญา คนชรา ฯลฯ ให้ตรงความต้องการแต่ละคนได้ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประหยัดเวลา

การดูแลผู้มีความบกพร่อง สิ่งแรกที่เป็นพื้นฐาน ต้องดูแลด้านอาหารให้เขาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน อาหารที่มีประโยชน์ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง สอง การฟื้นฟูและพัฒนาต้องเน้นให้ครอบคลุม 3 ด้าน คือ ร่างกาย, สติปํญญา จิตใจ สาม การฟื้นฟูและพัฒนาเด็ก

ต้องบูรณาการความรู้เข้าด้วยกัน มิใช่แยกเป็นส่วน เช่น ในบ้านเรามีเส้นตรงอยู่บนพื้น เราจะฝึกให้เขาเดิน ถ้าเด็กมีปัญหาในการยึดขา ก็ให้เขายืนบนขาเราก่อน แล้วหัดก้าวข้ามเส้นตรง ถ้าเด็กยืนไม่ได้ ก็ช่วยนวด ให้ขาเขาคลาย และฝึกเดิน ซึ่งต้องใช้เวลานานเขาจึงจะก้าวได้ และเข้าใจ เส้นตรงคืออะไร และสุดท้ายนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือศักยภาพของเด็ก มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนามากที่สุด

บ้าน: พื้นที่ฟื้นฟูเด็กพิการการออกกำลังกายเป็นมากกว่าการรักษา ถ้าเราทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนานเหมือนการเล่นเกมส์ เช่น เดินก้าวข้ามเส้นตรง ก้าวซ้าย ก้าวขวา จุดประสงค์ ให้เขารู้จักเส้นตรงเป็นยังไง รู้จัก ซ้าย ขวา และให้เขาขยับขาเองได้ ,เอามือจับหมอนไว้ แล้วยกหมอนขึ้น ลง เป็นการบริหารอย่างหนึ่ง ถ้าอยากให้เป็นเกมส์ สนุก ก็ส่งต่อ ๆ กันหรือใช้ลูกบอล ส่งต่อกัน, การคลาน พาบอลหรือหมอนไปส่งอีกฝั่งหนึ่ง เกมส์ นอกจากฝึกการใช้มือ การยืดแขนแล้ว กิจกรรมกลุ่ม ยังทำให้เด็กเรียนรู้ กฎ กติกา การอยู่ร่วมกับเพื่อน รู้จักรอคอยคนอื่น

กิจกรรมทำให้เคลื่อนไหว มิได้หมายถึงการเดินเพียงอย่างเดียว กิจกรรมเป็นอะไรก็ได้ แต่ต้องทำเป็นระบบ คือ จากง่าย ไปยาก, อุปกรณ์ คือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ไม่ต้องซื้อ เช่น ถุงเท้า ถุงน่องเก่า นำมาม้วนเป็นลูกบอล เมื่อโยนรับแล้วโดนตัวเด็ก จะไม่เจ็บด้วย ,การใช้อุปกรณ์ช่วยระหว่างจัดกิจกรรม เช่น หมอน วางไว้ระหว่างขา ไม่ให้ขาไขว้กัน ให้ขาเด็กหนีบหมอนไว้นานเท่าที่ทำได้ เพราะถ้าขาติดกันนาน การหายใจจะลำบาก ออกซิเจนจะเข้าไปได้น้อย และการเสริมแรงด้วยคำชม เด็กต้องการคำชมมาก เขาจะมีกำลังใจในการฝึก

ตัวอย่าง การบริหารร่างกายโดยใช้อุปกรณ์ในบ้าน สำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ ที่เสียการทรงตัว คนที่กลัวการขึ้นบันได, กลัวที่สูง เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม กลัวการกระโดด ยกขาไม่ได้ ถ้าอยากให้เด็กก้าว ยกขา ฝึกขึ้นบันได เราฝึกโดยใช้ ผ้าห่ม ปูแนวยาวกับพื้น ให้เด็กยืน ยกขา ก้าวบนผ้าห่ม ซึ่งต้องใช้เวลานานในการฝึก ปกติเราใช้ลังไม้ สำหรับคนที่นอนบนเตียงนาน ๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว การจับขาและตัว โยกด้านศรีษะลงโดยน้ำหนักถ่วงลงด้านล่าง เป็นการช่วยยืดขา

การบริหารแรก ๆ เด็กอาจเจ็บ เริ่มทำ สั้น ๆ 2 วินาที แล้วทำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน สำหรับเด็กเข่าเกร็งติด เราช่วยเขาออกกำลังกายทั้งตัว จาก ศรีษะ ถึงปลายเท้า ด้วยการนวด เพราะทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ปกติเราเริ่มที่ ศรีษะ เด็กจะกลัว เกร็ง เราเปลี่ยนมาเริ่มที่ เท้า ก่อน เด็กจะกลัวน้อยลง ก่อนนวดเราต้องแน่ใจว่า เด็กไม่เป็นโรคหัวใจ หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น สำหรับคนฝึก ต้องนั่งให้หลังตรง ถอดสิ่งที่เป็นโลหะ เครื่องประดับของผู้ฝึกออก กดน้ำหนักลงบนตัวแบบไม่แรง หรือไม่เบาเกินไป ต้องทำทุกวัน ข้อที่แข็ง จะได้ผ่อนคลาย

— เรียบเรียงโดย พรรณี โทวกุลพานิชย์ ฝ่ายการจัดการองค์ความรู้ —


ย้อนกลับ