มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

ประสบการณ์การทำสวนบำบัด

การนำเสนอประสบการณ์การทำสวนบำบัด ภายใต้ ”เวทีถอดบทเรียนองค์ความรู้ด้านสวนบำบัด” เป็นการนำเสนอประสบการณ์การดำเนินงานด้านสวนบำบัดของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยที่มีการดำเนินงานด้านสวนบำบัดหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมในสวน หรือกิจกรรมเกษตรกรรม ให้กับกลุ่มบุคคลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 4 หน่วยงาน/องค์กร ได้แก่

1. สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา หรือ บ้านราชาวดีชาย  จังหวัดนนทบุรี โดยวิทยากร คุณดวงพร  มีอนันต์
2. บ้านคามิลเลียนเพื่อเด็กพิการ โดยวิทยากร คุณสุกัญญา  นวนวัน และ คุณรวิสรา  อิสสรากุล
3. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โดยวิทยากร คุณกรรณิกา  ไชยชนะ
4. มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน โดยวิทยากร คุณพนิดา  มาสกุล

สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา หรือ บ้านราชาวดีชาย

องค์กร/หน่วยงาน  สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา หรือ บ้านราชาวดีชาย โดยวิทยากร: คุณดวงพร  มีอนันต์
(นักกายภาพบำบัดชำนาญการ)
สังกัด    สำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ     งานอาชีวบำบัด
กลุ่มเป้าหมาย    เด็กพิการทางสมองและปัญญาเพศชาย อายุระหว่าง 7 – 18 ปี ซึ่งครอบครัวประสบปัญหาเดือดร้อน ด้านเศรษฐกิจ หรือขาดผู้อุปการะดูแล จำนวน 600 คน
สถานที่  เลขที่ 78/6 หมู่ที่ 1 ซอยติวานนท์ – ปากเกร็ด 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาดอำเภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา หรือ บ้านราชาวดีชาย เป็นหน่วยงานในสังกัด     กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภารกิจหลัก ได้แก่ ให้การอุปการะเด็กพิการทางสมองและปัญญา เพศชาย อายุเมื่อแรกรับระหว่าง 7 – 18 ปี ซึ่งครอบครัวประสบปัญหาเดือดร้อน ด้านเศรษฐกิจ หรือขาดผู้อุปการะดูแล โดยให้การเลี้ยงดูฟื้นฟู และพัฒนา ภายใต้หลักการแห่งสิทธิมนุษยชน และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ประกอบด้วยจัดให้มีบริการด้านปัจจัยสี่ บริการทางการแพทย์ การรักษาพยาบาล การสังคมสงเคราะห์การศึกษาพิเศษ ตลอดจนจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ เพื่อให้เด็กในความอุปการะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างทัดเทียมกับบุคคลอื่น มีความสุขตามอัตภาพ

กิจกรรมหลักได้แก่
1. จัดบริการเพื่อการดำรงชีวิตพื้นฐาน
2. จัดบริการด้านสังคมสงเคราะห์และการส่งเสริมสิทธิโอกาส
3. จัดบริการเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
4. จัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคม

 ประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัด
สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา หรือ บ้านราชาวดีชาย  มีประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัด นำเสนอโดยวิทยากร คุณดวงพร  มีอนันต์  (นักกายภาพบำบัดชำนาญการ)  แบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) สนามเด็กเล่นเพื่อการบำบัด และ 2) สวนหินบำบัด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สนามเด็กเล่นเพื่อการบำบัด
สนามเด็กเล่นคือสถานที่สำหรับพัฒนาศักยภาพทางด้านร่างกาย สติปัญญา กระตุ้นจินตนาการของวัยเด็ก รวมทั้งยังเป็นสถานที่ให้เด็กๆ ได้มาพบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเป็นการฝึกทักษะทางสังคมเบื้องต้น โดยทางสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา หรือ บ้านราชาวดีชาย เห็นความสำคัญของการสร้างสนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์ของเล่นเครื่องเล่นที่มีความเหมาะสมเพื่อให้เด็กพิการสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันวัตถุประสงค์หลักของสนามเด็กเล่นเพื่อการบำบัด เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กพิการทางสมองและปัญญาเพศชาย อายุระหว่าง 7 – 18 ปีได้เข้ามาเล่น เพื่อเป็นการออกกำลังกายและเพื่อความเพลิดเพลินในช่วงเช้าและช่วงเย็น

สวนหินบำบัด
สวนหินบำบัดของทางสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา หรือ บ้านราชาวดีชาย มีการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่มีความรู้เกี่ยวกับในเรื่องของการใช้สวนหินเพื่อการบำบัด และมีการปรับให้มีความเหมาะสมในการบำบัดเด็กพิการ ซึ่งในบริเวณสวนหินจะมีการใช้หินหลากหลาย มีพื้นผิวต่างๆ เพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยบริเวณสวนหินบำบัด ประกอบด้วย ทางเดินรอบๆ สวนบำบัดเป็นพื้นผิวที่หลากหลาย สำหรับเด็กได้ฝึกเดิน ฝึกการเคลื่อนไหว และมีบริเวณทางเท้า ที่มีความกว้างเหมาะสมในการฝึกเดินด้วยไม้เท้า นอกจากนี้มีการจัดภูมิทัศน์เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศที่ดี ทั้งร่มเงาและความร่มรื่นของต้นไม้

ทางสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญาได้ใช้บริเวณสวนหินบำบัด ในการฝึกกายภาพบำบัด มีนักกายภาพบำบัดทำการฝึกเด็กพิการ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กสมองพิการ เป็นรายบุคคล

โดยการใช้ระบบการวนไปตามอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในสวนบำบัด มีนักกายภาพบำบัดฝึกและดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น การฝึกยืน เดิน  บริเวณที่มีหินขนาดที่แตกต่างเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสผ่านฝ่าเท้า การฝึกผ่านอุปกรณ์ต่างๆในสวนหินบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กด้วย เวลาการฝึกกายภาพบำบัดในสวนหินบำบัดคนละ 45 บาที

นอกจากนี้ทางวิทยากรคุณดวงพร  มีอนันต์ ได้กล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการฝึกกายภาพบำบัดในสวนหินบำบัด ไว้ว่า เทคนิคการนำเด็กพิการมาฝึกในสวนหินบำบัด จะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อน ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะทำการฝึกเด็กในอาคารกายภาพบำบัดก่อน และเมื่อเด็กมีความพร้อมเกิดความคุ้นเคย นักกายภาพบำบัดที่จะพาเด็กออกมาฝึกในสิ่งแวดล้อมภายนอก นั้นก็คือการฝึกกายภาพบำบัดภายในบริเวณสวนหินบำบัด

สรุป
จากการศึกษาประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัดของทางสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา หรือ บ้านราชาวดีชาย พบว่าเป็นสวนบำบัดที่ออกแบบองค์ประกอบของสวนบำบัดเพื่อจุดประสงค์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย เน้นการฝึกทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายให้กับเด็กพิการ เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหวแขนและมือ การเคลื่อนไหวของข้อ การนั่งทรงตัว การย่อตัว และการประสานสัมพันธ์ของการใช้อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณสนามเด็กเล่น และสวนหินบำบัด โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กพิการทางสมองและปัญญาเพศชาย อายุระหว่าง 7 – 18 ปี 

 


บ้านคามิลเลียน เพื่อเด็กพิการ

องค์กร/หน่วยงาน   บ้านคามิลเลียน เพื่อเด็กพิการโดยวิทยากร: คุณสุกัญญา นวนวัน (นักกายภาพบำบัด) คุณรวิสรา อิสสรากุล (นักจิตวิทยา)
สังกัด    องค์กรสาธารณะประโยชน์สำหรับเด็กที่ดำเนินงานแบบไม่แสวงหากำไร   ภายใต้ของมูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ     โครงการสนามเด็กเล่นแบบเล่นรวม สวนแห่งสัมผัส และแปลงผักของบ้านคามิลเลียนเพื่อเด็กพิการ
กลุ่มเป้าหมาย    เด็กพิการที่มีภาวะบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาจำนวน 80 คน แบ่งออกเป็น   เด็กไป-กลับ จำนวน 60 คน  เด็กอยู่ประจำ(เป็นเด็กถูกทอดทิ้ง) จำนวน 20 คน
สถานที่    บ้านคามิลเลียน เพื่อเด็กพิการ 81/2 ถนนหลวงแพ่ง. แขวงขุมทอง, เขตลาดกระบัง, กรุงเทพฯ 10520

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

sensory garden 01บ้านคามิลเลียน เพื่อเด็กพิการเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์สำหรับเด็กที่ดำเนินงานแบบ        ไม่แสวงหากำไร ภายใต้ของมูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย บ้านคามิลเลียน เพื่อเด็กพิการเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแก่เด็กพิการ โดยให้การดูแลและฟื้นฟูทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กๆ ที่มีภาวะบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ภารกิจหลักของบ้านคามิลเลียน เพื่อเด็กพิการ คือ เป็นบ้านอันอบอุ่นที่ให้การดูแลและที่พักพิงแก่เด็กพิการและกำพร้า เปรียบเสมือนบุตรในครอบครัวโดยทั่วไป และสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ที่ปราศจากอุปสรรคในการดำรงชีวิตและสังคมที่ไร้การกีดกันสำหรับผู้พิการ มีรายละเอียดกิจกรรม อาทิเช่น

การศึกษาสำหรับเด็กพิการ ทางบ้านคามิลเลียนเพื่อเด็กพิการได้ให้บริการด้านการศึกษาสำหรับเด็กเด็กพิการที่มีภาวะบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา ภายใต้หลักสูตรการศึกษานอกระบบ(กศน.)    4 ภาคเรียน ใน 2 ปีการศึกษา ประกอบด้วยวิชาพื้นฐาน ได้แก่ คณิตศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และกิจกรรมสันทการ ทักษะการดำรงชีวิต และงานศิลปะ เพื่อพัฒนาทักษะตามสภาพความพิการของเด็กแต่ละคน การศึกษาสำหรับเด็กพิการทางสายตา การเรียนการสอนด้วยภาษาเบรลล์ ในวิชาพื้นฐาน ได้แก่ คณิตศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  คอมพิวเตอร์ และกิจกรรม    สันทการ พื้นฐานการดำรงชิวิต และงานศิลปะ นอกจากนี้เด็ก ๆ ที่พิการทางสายตายังได้รับการฝึกฝนในการใช้ไม้เท้าขาวนำทาง จากการพาออกไปทำกิจกรรมด้านนอกอีกด้วย

sensory garden 02กิจกรรมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ และทักษะการดำรงชีวิต ได้แก่   การฝึกกายภาพบำบัด แบบตัวต่อตัว ที่เหมาะสมตามสภาพความพิการของเด็กแต่ละคน โดยมีการฝึกกายภาพบำบัดในอาคาร และธาราบำบัด กิจกรรมฝึกทักษะด้านอารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบบตัวต่อตัว เพื่อฝึกสมาธิ และแบบกลุ่มเพื่อฝึกทักษะการเข้าสังคม การฝึกทักษะการดำรงชีวิต เช่น การฝึกทักษะขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ฝึกการขับถ่ายด้วยตนเองให้ถูกสุขลักษณะ การฝึกทักษะการใช้สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

ประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัด
บ้านคามิลเลียน เพื่อเด็กพิการ มีประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัด ภายใต้โครงการสนามเด็กเล่นแบบเล่นรวม สวนแห่งสัมผัส และแปลงผักของบ้านคามิลเลียน  นำเสนอโดยวิทยากร คุณสุกัญญา นวนวัน (นักกายภาพบำบัด) และ คุณรวิสรา อิสสรากุล (นักจิตวิทยา) แบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) สวนแห่งสัมผัส (Sensory Garden) และ 2) แปลงผัก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สวนแห่งสัมผัส (Sensory Garden)
สวนแห่งสัมผัส (Sensory Garden) และสนามเด็กเล่นรวม ถือเป็นสนามเด็กเล่นที่ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันแห่งแรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย เป็นสนามเด็กเล่นที่เด็กทุกคน ทุกเพศ ทุกชนชั้น สามารถเข้าถึง และยังไม่มีอุปสรรคต่อการเข้าถึงของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางร่างกายที่ใช้รถเข็นอีกด้วย

ทางวิทยากรคุณสุกัญญา นวนวัน ได้กล่าวถึงการออกแบบสวนแห่งสัมผัส (Sensory Garden) และสนามเด็กเล่นรวม ว่าคำนึงถึงการเข้าถึงของเด็กพิการ พิจารณาถึงความจำเป็นในแง่ที่ว่าเด็กพิการจะต้องได้รับความสนุกสนานเหมือนเด็กทั่วไปเมื่อได้เข้าไปเล่นในสวน ให้เด็กเหล่านี้สามารถเล่นเครื่องเล่นหรือใช้บริเวณต่างๆ ภายในสวนได้ โดยในบางครั้งอาจจะเล่น ทำกิจกรรม หรือชื่นชมธรรมชาติได้ไม่เต็มที่เหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่ก็ยังดีกว่าขาดโอกาสใช้ประโยชน์จากสวนนี้เลย ดังนั้นลักษณะสวนแห่งสัมผัส และสนามเด็กเล่นรวมที่บ้านคามิลเลียน เป็นสวนเปิดโอกาสให้เด็กพิการสามารถเข้าถึง เพื่อสามารถที่จะเรียนรู้และสัมผัสกับธรรมชาติในสวน เป็นการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์-จิตใจ สังคม และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก

การออกแบบบริเวณพื้นสนาม เลือกใช้พื้นผิวสังเคราะห์ คือ หญ้าเทียม แทนการใช้กรวดหรือทราย เพราะพื้นกรวดหรือทรายจะเป็นอุปสรรคต่อเด็กที่ใช้ไม้เท้าหรือรถเข็นวีลแชร์ นอกจากนี้การเลือกเครื่องเล่น และอุปกรณ์ต่าง ๆ จากรูปทรงที่หลากหลาย ที่เปิดโอกาสให้เด็กที่มีความสามารถแตกต่างกัน สามารถเล่นอย่างปลอดภัยด้วยกันในสถานที่เดียวกันได้

การที่เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆ ในสวนที่สามารถส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่างๆ เช่น การให้เด็กเล่นและฝึกฝน ออกกำลังกายภายในบริเวณสวน ทำให้เด็กมีสุขภาพดี มีร่างกายและจิตใจแข็งแรง   กิจกรรมในสวนต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่ม เมื่อเด็กเข้ากลุ่ม ทำให้เด็ก มีความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของกลุ่ม จะให้เกิดความมั่นใจและมีความสุข

sensory garden 05แปลงผักของบ้านคามิลเลียน
แปลงผักของบ้านคามิลเลียน เป็นการนำแนวคิดในเรื่องของ “เกษตรบำบัด”  ที่เป็นกระบวนการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับพืช ต้นไม้ และสวน ได้แก่ การทำสวน การขยายพันธุ์พืช        การดูแลพืช การทำกิจกรรมต่างๆ ที่สัมผัสกับธรรมชาติภายในสวน การเยี่ยมชมสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้บุคคลได้พักผ่อน ผ่อนคลาย ลดความเครียด และความกดดันต่างๆ และมีโอกาสได้รับการกระตุ้นหรือฟื้นฟูสมรรถภาพในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ ในสวนบำบัด  ในการบำบัดให้กับเด็กพิการ  ซึ่งการออกแบบแปลงผักของบ้านคามิลเลียน มีการคำนึงถึงการออกแบบมาให้เหมาะกับเด็กพิการที่มีภาวะบกพร่องทางร่างกายที่นั่งรถเข็น หรือเดินไม่สะดวกอีกด้วย

วิทยากรได้กล่าวถึง ประสบการณ์ในการปลูกผักของเด็กๆ ที่บ้าน คามิลเลียนว่า เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีการปลูกผัก ทำสวน เด็กๆ มีส่วนร่วมในการกระบวนการปลูกทุกอย่างตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก หว่านเมล็ด และการเก็บเกี่ยว เด็กๆ ปลูกผักหลากหลายชนิด เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาด ผักกวางตุ้ง  ซึ่งผักเหล่านี้เรานำมาใช้ทำอาหารในครัว นอกจากจะมีผักสด ปลอดสารพิษ รับประทานแล้ว เด็กๆ ยังได้ฝึกความรับผิดชอบ และเหมือนกับได้พัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจไปด้วย เด็กๆ ตื่นเต้นที่ได้เห็นผักที่ตัวเองปลูกเจริญเติบโต ขึ้น จากต้นกล้าเล็กๆ จนสามารถรับประทานได้

กิจกรรมทางการเกษตรของ แปลงผักของบ้านคามิลเลียน เช่น การปลูกผัก การปลูกดอกไม้    การพรวนดิน การรดน้ำต้นไม้ การตกแต่งต้นไม้ การเพาะชำ มีประโยชน์ในการช่วยบำบัดฟื้นฟูเด็กๆ ช่วยพัฒนาการรับรู้ด้านต่างๆ ของเด็ก ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส ให้เด็กๆ เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย         พัฒนาความรู้สึกต่อตนเองไปในทางที่ดี มีความเชื่อมั่นในการเข้าสังคม

ประโยชน์
จากการศึกษาประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัดของทางบ้านคามิลเลียน พบว่าสวนแห่งสัมผัส (Sensory Garden) และ 2) แปลงผัก มีประโยชน์ในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

ทางด้านร่างกาย  เน้นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายให้กับเด็กพิการ ผ่านกิจกรรมการดูแลต้นไม้ภายในสวนต่างๆ เช่น การได้รดน้ำต้นไม้ด้วยสายยางหรือบัวรดน้ำ การได้ขุดดิน การได้ขยับย้ายกระถางต้นไม้ เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขน ขาและกล้ามเนื้อลำตัว รวมทั้งการเล่นเครื่องเล่นต่างๆ ภายในบริเวณสนามเด็กเล่น เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่เช่นกัน นอกจากนี้กิจกรรมปลูกฝักภายในบริเวณแปลงผัก ถ้ามีการจัดมีพื้นที่สามารถทำแปลงเล็กๆ หรือเตรียมกระถางสำหรับปลูก ลักษณะของกิจกรรมปลูกผักจะมีส่วนช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เด็กได้ใช้มือ นิ้วมือในการหยิบจับ  และทำให้ความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อมือและตาให้ทำงานอย่างประสานสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

ทางด้านจิตใจ-อารมณ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจเด็ก จะแสดงอารมณ์ออกมาตามประสบการณ์และสภาพแวดล้อมของแต่ละคน ดังนั้นเมื่อเด็กพิการได้มีประสบการณ์สัมผัส   กับธรรมชาติและใช้ชีวิตเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ภายในบริเวณสวนสัมผัส ทำให้เด็กพิการรู้สึกผ่อนคลายจิตใจและอารมณ์  เนื่องจากได้สัมผัสบรรยากาศที่ร่มรื่น และมีชีวิตชีวารอบๆ สวน ซึ่งมีส่วนทำให้เด็ก       มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดี  นอกจากนี้กิจกรรมปลูกต้นไม้ หรือกิจกรรมเกี่ยวกับสวน ในสวนของแปลงผัก เป็นการสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้กับเด็กในเรื่องความรับผิดชอบ และสsensory garden 06ร้างเสริมวินัยในตนเองให้กับเด็ก ด้วยการที่เด็กได้ดูแลการเจริญเติบโตของพืชจนกระทั่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำไปปรุงเป็นอาหาร จะทำให้เด็กรู้จักการรอคอย และเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่เกิดจากความรับผิดชอบ

ทางด้านสังคม เป็นประสบการณ์ให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้เรียนรู้ทักษะทางสังคม ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น  ด้วยการทำกิจกรรมหรือการทำงานสวนร่วมกับผู้อื่นทำให้มีการวางแผน การตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ ทำให้เด็กๆ ได้รับความรู้สึก ความสนใจ ความต้องการทั้งของตนเองและผู้อื่น ถือเป็นการสร้างความชื่อมั่นในการเข้าสังคมด้วย รวมทั้ง เป็นการสร้างแรงจูงใจได้อย่างดี เพราะในการที่แต่ละคนได้มีส่วนร่วม และลงมือทำด้วยตนเอง ตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูกผัก การเพาะ    ต้นกล้า การพรวนดิน การรดน้ำ การใส่ปุ๋ย ทั้งกระบวนการ ถือเป็น เป็นการสร้างแรงจูงใจ เพิ่มการเห็นคุณค่าตนเอง และพัฒนาความรู้สึกต่อตนเองไปในทางที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ

ทางด้านสติปัญญา จากเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกต้นไม้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย  จวบจนกระทั่งรอจนถึงวันที่ต้นไม้ผลิดอกออกผล เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สามารถฝึกสมาธิ จากการเฝ้าสังเกตและการติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ในแต่ละวัน ทำให้เด็กๆ ได้ฝึกสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแน่วแน่และตั้งใจ มีสมาธิทำอะไรเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น

สรุป
จากการศึกษาประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัดของทางบ้านคามิลเลียน เพื่อเด็กพิการ พบว่าสวนแห่งสัมผัส (Sensory Garden) และ 2) แปลงผัก เป็นลักษณะสวนบำบัดที่ออกแบบองค์ประกอบของสวนบำบัดเพื่อจุดประสงค์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบบรูณาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กพิการที่มีภาวะบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา


 สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

องค์กร/หน่วยงาน   สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โดยวิทยากร: คุณกรรณิกา  ไชยชนะ
(นักสังคมสงเคราะห์)
สังกัด    สังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
หน่วยงานที่รับผิดชอบ     โครงการฟื้นฟูศักยภาพทางสังคม จิตใจ สำหรับผู้ป่วยจิตเวช โดยเกษตรกรรมกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์
กลุ่มเป้าหมาย    ผู้ป่วยทางจิตเวช ที่อยู่ในช่วงพักฟื้น
สถานที่  สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 112 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600

 4ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเป็นหน่วยงาน สังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้บริการการตรวจและรักษาโรคทางจิตเวช บริการให้คำแนะนำปรึกษาทางด้านสุขภาพจิต และให้บริการบำบัดรักษาทางระบบประสาทจิตเวชศาสตร์ ซึ่งมีการรักษาด้วยยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย เป็นภารกิจหลัก นอกจากนี้ สถาบันฯ เป็นสถานที่ศึกษา ดูงานของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อีกทั้งผลิตและฝึกอบรมบุคลากรหลักสูตรเฉพาะทางสาขาสุขภาพจิตและจิตเวชหลายสาขาหลายวิชาชีพ

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา มีวิสัยทัศน์ คือ เป็นผู้นำด้านจิตเวชศาสตร์และประสาทจิตเวชศาสตร์ในระดับประเทศ และมีพันธกิจ คือ พัฒนางานวิชาการในเชิงบูรณาการและให้บริการผู้ป่วยจิตเวชศาสตร์และประสาทจิตเวชศาสตร์ที่ยุ่งยาก ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีศักดิ์ศรีในสังคม

ประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัด
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในส่วนของทีมงานนักสังคมสงเคราะห์ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์  เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านสวนบำบัด  มีประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัด ดำเนินงานภายใต้โครงการฟื้นฟูศักยภาพทางสังคม จิตใจ สำหรับผู้ป่วยจิตเวช โดยเกษตรกรรม นำเสนอโดยวิทยากร คุณกรรณิกา ไชยชนะ(นักสังคมสงเคราะห์) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ แปลงผักสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเริ่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อเตรียมก่อนส่งกลับครอบครัว / สถานที่รองรับ
2. เพื่อพัฒนาเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
3. เพื่อเน้นการฟื้นฟูทักษะทางสังคมเดิมที่เสื่อมถอยให้กลับคืนมา
4. เพื่อให้ผู้ป่วยมีทักษะอาชีพและพึ่งตนเองได้

1วิทยากรได้กล่าวถึงแนวคิดในการนำเกษตรกรรมมาใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วยทางจิตเวชว่า อย่างแรกเราจะเรียกว่า “สมาชิก” แทนการเรียนว่าผู้ป่วยจิตเวช ก่อนที่ผู้ป่วยที่กลับออกไปอยู่กับครอบครัว หรือออกไปอยู่สถานสงเคราะห์ หน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์คือ ต้องพัฒนาศักยภาพที่เดิมของสมาชิกให้กลับคืนมาก่อน เพราะการใช้ชีวิตข้างนอกนั้น สมาชิกต้องรับผิดชอบและช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุดซึ่งทางนักสังคมสงเคราะห์คิดว่า การนำเกษตรกรรม มาใช้เพื่อเป็นสิ่งเรียนรู้จำลองในทางปฏิบัติ ในโรงพยาบาลสำหรับสมาชิก เพื่อการเตรียมตัวและเตรียมพร้อมก่อนกลับสังคม กิจกรรมในแปลงผัก เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน เพาะต้นกล้า การย้ายต้นกล้าลงแปลง รดน้ำ พรวนดิน การดูแลแปลงผัก ตลอดจนขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวผลผลิต การทำบัญชี และการจำหน่ายผลผลิต สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่มีความสอดคล้องกับสิ่งที่สมาชิกจะต้องออกไปใช้ชีวิตข้างนอก

ยกตัวอย่างเช่น การให้สมาชิกขายผลผลิตด้วยตนเอง เป็นการฝึกปฏิสัมพันธ์กับญาติผู้ป่วยและบุคคลากรของสถาบันผ่านการซื้อขายผลผลิต เป็นประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทักษะทางสังคม     ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการเข้าสังคม รวมทั้งพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต รวมทั้งฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบนสถานการณ์จริงๆ ทักษะในการแก้ปัญหาและการคิดวางแผน สำหรับรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตแต่ละวันนั้น ทางนักสังคมสงเคราะห์ได้มีการฝึกให้สมาชิกทำบัญชีคู่ขนานไปกับการทำบัญชีโดยนักสังคมสงเคราะห์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การปลูกผัก ทำสวนสามารถเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาของแต่ละคน  ทำให้แต่ละคนต้องคิดและค้นหาหนทางในการแก้ปัญหาในขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดวางแผนอย่างมีระบบด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การปลูกผัก ให้ความเพลิดเพลิน ความสุข ผ่อนคลาย และยังสามารถพัฒนาเป็นทักษะอาชีพได้ สามารถทำงานมีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต เช่น อาชีพเกษตรกรรม    การปลูกผักขาย เป็นต้น เป็นการสร้างโอกาสในการมีงานทำ

 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สมาชิกที่เข้าร่วมงานฟื้นฟูในโครงการฟื้นฟูศักยภาพทางสังคม จิตใจ สำหรับผู้ป่วยจิตเวช โดยเกษตรกรรม ส่งไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์ จำนวน13 คน และสามารถออกไปประกอบอาชีพ และอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวได้ 2 คน ซึ่งในปัจุบันอยู่ระหว่างการฝึก จำนวน 2 คน

ทางวิทยากรได้นำเสอนกระบวนการในการฝึก ในรูปแบบของแผนภูมิดังนี้
Pic1

3กระบวนการในการฝึก เริ่มต้นที่งานสวน ซึ่งมีคนสวนในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เป็นผู้สอนทักษะทางด้านงานสวนและงานเกษตรเบื้องต้น ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรกรรมและการจัดตกแต่งสวน เพื่อให้สมาชิกได้ความรู้เบื้องต้น และมีการฝึกทักษะจริงในบริเวณสวนของโรงพยาบาล เช่น การตัดแต่งกิ่งไม้ การรดน้ำ พรวนดิน ดูแลสวนต่างๆ บริเวณสวนหย่อม  สำหรับนักสังคมสงเคราะห์จะเป็นผู้ทำกลุ่มบำบัด เพื่อเตรียมผู้ป่วย เน้นการพัฒนาในเรื่องของทักษะทางจิตใจและสังคม ประกอบด้วย การสื่อสาร/ปฏิสัมพันธ์การวิเคราะห์แก้ปัญหา การจัดการอารมณ์ และการแสดงออก และการวางแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะฝึกผ่าน งานสวน และงานการเกษตร นอกจากนี้ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเกษตรกรรม ทางสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทางเครือข่ายทางสังคม โดยกลุ่มสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมนั่งยืน (ประเทศไทย) บ้านสวนป้าหน่อย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร อีกทั้งยังเป็นสถานที่ฝึกงานจริง ให้กับสมาชิกอีกด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฟื้นฟูศักยภาพทางสังคม จิตใจ สำหรับผู้ป่วยจิตเวช โดยเกษตรกรรม
1. ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการฟื้นฟูศักยภาพทางสังคมจิตใจผ่านกิจกรรมเกษตรกรรม
2. มีรูปแบบการฟื้นฟูทักษะทางสังคมจิตใจ
3. มีเครือข่ายทางสังคมในการช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม

สรุป
งานเกษตรกรรมบำบัด หรือเกษตรกรรม เป็นส่วนหนึ่งของอาชีวบำบัด ที่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชที่มีความบกพร่องในด้านของทักษะการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นการเตรียมผู้ป่วยให้มีความสามารถในการดูแลตนเอง มีการเตรียมตัวและเตรียมพร้อมก่อนกลับสู่สังคม อยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชนและสังคมได้ อีกทั้งการฝึกงานเกษตรกรรม เป็นการให้อาชีพ ซึ่งทักษะที่พวกเขาเรียนรู้ในสวนสามารถนำไปใช้กับส่วนอื่นๆ ของชีวิต  ได้แก่ การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ สร้างการเคารพตนเอง สร้างความไว้วางใจ (ในการทำงานเป็นทีม) กระตุ้นความรู้สึกของการเห็นคุณค่าของตนเอง และสร้างโอกาสในการ   มีงานทำ


เสถียรธรรมสถาน

 องค์กร/หน่วยงาน     มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน โดยวิทยากร: คุณพนิดา  มาสกุล (นักวิชาการ โครงการและแผนงาน)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ     มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน
กลุ่มเป้าหมาย    บุคคลทั่วไปทุกเพศ ทุกวัยที่สนใจเรื่องการดูแลสุขภาพ ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยผู้ที่มีอาการป่วยและต้องการดูแลจากธรรมชาติ
สถานที่  เสถียรธรรมสถาน   เลขที่ 23 ถนนวัชรพล รามอินทรา 55 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

เสถียรธรรมสถานชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างศานติ ทำงานกับมนุษย์ในทุกช่วงวัยของชีวิตตั้งแต่ปฏิสนธิจิตจนคืนชีวิตสู่ธรรมชาติโดยใช้หลักพุทธธรรมนำสังคม ก่อตั้งโดยท่านแม่ชีศันสนีย์  เสถียรสุต ในปี พ.ศ.2530 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นเรือนเพาะชำอริยชน หมายถึง ใช้หลักพุทธธรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในทุกกิจกรรม
2.สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้
3. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดวิถีชีวิตของการเปลี่ยนแปลงตนเองร่วมกันของมนุษยชาติ

01นอกจากนี้เสถียรธรรมสถานยังเปิดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมให้พุทธศาสนิกชนทุกคนได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านหลายฐานงานของเสถียรธรรมสถาน ล้วนมุ่งหวังในการใช้หลักธรรมมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม อาทิเช่นโครงการจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ ที่จัดอบรมปฏิบัติธรรมให้กับพ่อแม่ ที่เตรียมจะตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์โครงการโรงเรียนพ่อแม่ ที่จะส่งเสริมให้ครอบครัวที่มีลูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี ได้เข้ามาเรียนรู้หลักธรรม เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบให้กับลูก

โครงการบวชพุทธสาวิกา เป็นการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาลงไปในหัวใจของเด็กผู้หญิงให้เติบโตอย่างงดงามโดยผ่านการบ่มเพาะจากวิถีชีวิตนักบวช ที่จะให้เด็กหญิงไดถือศีล 10 ปฏิบัติธรรมที่เสถียรธรรมสถาน ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนโครงการ SOS (Seed of Spirituality ) บ่มเพาะ แตกหน่อ ต่อยอดเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา เป็น  การทำงานกับเยาวชนโดยใช้กระบวนการของสื่อเป็นเครื่องมือในการทำให้เยาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนโครงการอานาปานสติภาวนา เป็นการปฏิบัติธรรมสำหรับคนที่สนใจใช้งานอานาปานสติเป็น   การฝึกฝนตนเอง โครงการธรรมชาติบำบัด เป็นการใช้แนวทางการรักษาสุขภาพและเยียวยารักษาตนเองด้วยวิถีแห่งธรรมชาติมาปรับพฤติกรรมในการกินอยู่เพื่อให้ร่างกายได้มีโอกาสในการเยียวยาตนเอง

04ประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัด
เสถียรธรรมสถาน มีประสบการณ์การทำงานด้านสวนบำบัด โดยเน้นเรื่องของการใช้ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตใจ  นำเสนอโดยวิทยากร คุณพนิดา  มาสกุล (นักวิชาการ โครงการและแผนงาน) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สภาพแวดล้อมโดยรอบของเสถียรธรรมสถาน มีการจัดสรรบริเวณการใช้พื้นที่ต่างๆ ภายใน 25 ไร่ ของเสถียรธรรมสถาน ยึดแนวคิดตามที่ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ที่ได้ให้ไว้ว่า ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เราปลูกต้นไม้และต้นไม้จะปลูกใจเรา วิถีแห่งธรรมชาติกับมนุษย์เป็นสิ่งที่ควรอยู่ร่วมกัน ให้ความเป็นธรรมชาติ มีความร่มรื่น และความเขียวขจีของต้นไม้ใหญ่  ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของสวนบำบัด หรือที่เรียกว่าสวนเพื่อการฟื้นฟูจิตใจ (Restorative Garden) หมายถึง สวนที่ออกแบบและสร้างขึ้น  เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูจิตใจ โดยใช้ความเป็นธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพักผ่อนทางใจ ลดความเครียด หรือเพื่อให้เกิดความสงบในจิตใจนั่นเอง ดังนั้นการออกแบบสวนเพื่อการฟื้นฟูจิตใจ มุ่งเน้นสวนที่มีความร่มรื่น ความเงียบสงบ เพื่อทำให้บุคคลที่เข้ามาในสวนรู้สึกผ่อนคลาย สงบ เป็นผลดีต่อสุขภาพจิตมีกำลังใจที่จะต่อสู้ชีวิตต่อไป

05เสถียรธรรมสถาน มีหลายโครงการที่มุ่งหวังในการใช้หลักธรรมและธรรมชาติมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยหนึ่งในโครงการได้แก่ ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติบำบัด คือ ศาสตร์แห่งการเยียวยาร่างกายและจิตใจ พร้อมกับสร้างความสมดุลให้กับชีวิต แก่นของธรรมชาติบำบัดนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องของ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหญ่ของคน ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นต้องเริ่มจากภายในจิตใจก่อนที่จะขยายออกไปภายนอกและเพราะเสถียรธรรมสถาน เป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่จะฝึกฝนในเรื่องของ “ภายใน” ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งสอนให้คนเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างสมดุล หรือความเงียบที่เป็นเสมือนวิธีการสื่อสาร     ที่จะดึงให้คนกลับเข้ามาดูจิตใจของตัวเองดังนั้น ธรรมชาติบำบัด เป็น ศิลปะแห่งการเยียวยา การดูแลตนเอง และความเป็นอยู่ให้เกิดความสมดุล ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของโครงการธรรมชาติบำบัด 1) เป็นการส่งเสริมวิถีชีวิตของมนุษย์ให้ดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และ    2) เพื่อส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ การเฝ้าสังเกต ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การฝึกเฝ้าสังเกตภาวะภายในจิตใจที่มีผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย แล้วสามารถนำองค์ความรู้นั้นมาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นไปตามธรรมชาติเพื่อความสมดุลของชีวิต
ที่มา ธรรมชาติบำบัด จาก https://www.sdsweb.org/sdsweb/index.php/2010-09-04-06-22-07


 


ย้อนกลับ